รูปหลวงพ่อกล้วยวัดหมูดุดสมเด็จอ.ศรีเงิน วัดดอนศาลา

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. MATHS

    MATHS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    793
    ค่าพลัง:
    +943
    ขอจองครับ
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,409
    ค่าพลัง:
    +21,404
    1182-1.jpg

    ประวัติหลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด
    หลวงพ่อกล้วย หรือ พระครูญาณวรกิจ แห่งวัดหมูดุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2451 และมรณภาพเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2534 อายุ 83 ปี 2 เดือน พรรษา 63 ท่านเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์สังข์เฒ่า วัดเก๋งจีน ร่วมสำนักเดียวกันกับหลวงปู่ทิม ท่านเป็นพระที่เคร่งในพระวินัยมาก วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรีและมหาอุด ในอดีตท่านได้รับการยอมรับเเละได้รับเชิญร่วมการปลุกเสกวัตถุมงคลจากวัดสุทัศน์เเทบทุกครั้ง วิชาที่ขึ้นชื่อก็คือสามารถควบคุมกสิน ดิน น้ำ ลม ไฟ วัตถุมงคลของท่านตั้งเเต่ยุคต้นจนถึงยุคปลาย

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    หลวงพ่อกล้วย หรือ พระครูญาณวรกิจ แห่งวัดหมูดุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2451 และมรณภาพเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2534 อายุ 83 ปี 2 เดือน พรรษา 63 ท่านเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์สังข์เฒ่า วัดเก๋งจีน ร่วมสำนักเดียวกันกับหลวงปู่ทิมของเรานั่นเอง ท่านเป็นพระที่เคร่งในพระวินัยมาก วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรีและมหาอุด ในอดีตท่านได้รับการยอมรับเเละได้รับเชิญร่วมการปลุกเสกวัตถุมงคลจากวัดสุทัศน์เเทบทุกครั้ง วิชาที่ขึ้นชื่อก็คือสามารถควบคุมกสิน ดิน น้ำ ลม ไฟ วัตถุมงคลของท่านตั้งเเต่ยุคต้นจนถึงยุคปลาย ล้วนเป็นที่ต้องการของนักสะสมมากมาย เเม้เเต่รูปถ่ายท่าน ชาวบ้าน อ.สอยดาว ยังเล่าให้ฟังว่า อาก้ายังไม่ได้กินเลย...
    ปี 2521 เจ้าของรีสอรช์ที่เจ้าหลาวกับยามลูกน้องอีกคน ทนโดนยกเค้าของในรีสอรช์ไม่ไหวเลยวางเเผนที่จะจับขโมยให้ได้ ราว 2 ทุ่มกว่า ๆ ขโมยมันก็ย่องมาขโมยของมีค่าอีก ยามจึงส่งเสียงให้หยุดพร้อมกับเล็งปืนลูกซองใส่ พร้อมเจ้าของรีสอรช์ก็ใช้ปืนอีกกระบอกหนึ่ง ขโมยมันกระโดดปีนหลังคาเเล้วกระโดดข้ามกำแพง เจ้าของรีสอร์ชเลยลั่นไกไป 2 ครั้ง เเชะทั้ง 2 ครั้ง ยามวิ่งตามออกไป ห่างกันเเค่ไม่กี่เมตร ยามกดลูกซองอีก 3 ครั้ง แชะทุกครั้ง จนขโมยวิ่งหนีหายไปในความมืด หลังจากนั้นก็สืบว่าขโมยเป็นใครและมีอะไรดี ก็รู้ว่าเเขวนเหรียญยืนหลวงพ่อกล้วย หลังจากนั้นจึงไปตามตัวที่บ้าน วางเเผนอุ้มด้วยความโกรธเเค้น กระชากสร้อยเส้นนี้ออกและสับไกลูกซองกระบอกเดิม ผลปรากฏว่าตายทั้งคู่ ส่วนยามก็เก็บเหรียญยืนนี้ติดตัวไว้เเล้วหนีไปอยู่ที่ปทุมธานี จนญาติของขโมยคิดที่จะเเก้เเค้น ตามไปยิงยามคนนี้ที่ปทุมธานี แต่ปืนก็ยิงไม่ออกเหมือนกัน ยามคนนี้ก็มาขอขมาต่อญาติของขโมยและขอบวชที่วัดหมูดุด แต่หลวงพ่อพ่อท่านไม่ให้บวช เรื่องนี้ดังมากในแถบท่าใหม่ ซึ่งสมัยนั้น ต.คลองขุด ยังไม่เจริญนัก การคมนาคมไม่สะดวกเลย สัตว์ป่าเยอะมาก
    ปัจจุบันสังขารของท่านนอนอย่างสงบอยู่ในโลงแก้ว โดยไม่เน่าเปื่อย... สมาชิกที่เดินทางไปพักผ่อนแถวหาดเจ้าหลาว จ.จันทบุรี หากไปตามเส้นทางถนนสุขุมวิท – คุ้งกระเบน (เส้นทางหมายเลข 3399) วัดหมูดุดจะอยู่ทางซ้ายมือ ก่อนถึงสามแยกเจ้าหลาวประมาณ 3 กิโลเมตร

    ในภาพเป็นเหรียญยืน ที่โด่งดังมาก สร้างปี 2520 เหนียวสุด ๆ ครับ

    "ที่มาของความเหนียวชนิดที่ว่า DIE HARD 4.0 เหนียวบ้าเลือด ระห่ำทะลุองศาเดือด (ประสบการณ์เหรียญยืน ปี20-พรบูรพา) มีให้กล่าวขานในพื้นที่กันว่า...สุด...สุด... มีพี่สายตำรวจท่านหนึ่งไม่เปิดเผยนามเล่าให้ฟังว่า เค้าตามเก็บมือปืนอยู่รายหนึ่งในย่านระยอง ทุกครั้งที่มีการล้อมจับตาย จะต้องใช้กำลังตำรวจอย่างเต็มกำลัง เเละก็มีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บและตายจากการดวลปืนอย่างดุเดือดเเทบทุกครั้ง เเถมยังจับวายร้ายเเก๊งนี้ไม่ได้สักที จนครั้งสุดท้ายการล้อมจับที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง หลังจากติดตามมาหลายวัน เช้าวันนั้นคนร้ายรายนี้ ถอดสร้อยที่เเขวนเหรียญยืนพ่อกล้วยไว้ที่นอนเเล้วไปอาบน้ำ มือปราบจึงได้ปิดบัญชี คนร้ายรายนี้ได้อย่างง่ายดาย จากการตรวจค้นภายในที่พัก ที่หัวนอนมีสร้อยเส้นนี้วางอยู่บนหมอน งานนี้หลวงพ่อไม่ช่วยมัน...
    อีกครั้งที่ความคงกระพันยังประกาศความชัดเจน คือเรื่องของเจ้ ร.ช.น. ขอเป็นตัวย่อเเละกัน เจ้เป็นเจ้าของฟาร์มกุ้งอยู่หนองแหวน.. หลังจากจับกุ้งเสร็จก็สั่งให้ลูกน้องพม่าฉีดเลนทำความสะอาดพื้นบ่อ เตรียมที่จะลงลูกกุ้งเลี้ยงครั้งใหม่ โดยนั่งอยู่ในศาลาริมบ่อ สักพักเห็นว่าฟ้าครึ้มตั้งเค้าจะลงเม็ดฝน เห็นฟ้าเเลบอยู่ไกลๆ เลยเดินออกมาจะบอกลูกน้องให้พอก่อนวันนี้ โดยเจ้เเกเดินไปบนสะพานยอ ไปหยุดมองลูกน้องกำลังฉีดเลน เอ่ยปากบอกให้พอก่อน เสร็จเเกหันตัวมาอีกทาง ฟ้าก็เเตกเสียงดังตูม!ทันที เจ้เเกเล่าว่าเเกมองเห็นเเต่เเสงสีขาวตรงหน้าเเก พร้อมกับเสียงอะไรไม่รู้ ดังเหมือนระเบิดเหมือนอากาศมันเเตกตรงหน้าเเก เเกค้างเหมือนตายไปเลยวินาทีนั้น นับได้สักยี่สิบ เเกรู้สึกตัวกำเหรียญยืนหลวงพ่อกล้วยแน่น ค่อยๆหันไปมองลูกน้องจะเรียกให้ช่วยเเละจะถามว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เจ้แกต้องร้องหวีดสุดเสียงเมื่อ ภาพที่เห็นคือ ลูกน้องเเก...สุก!เนื้อเเตก!ควันโขมง! มีลูกไฟยังไหม้ออกจากตา ไหม้เส้นผมที่ยังเหลืออยู่ เจ้เเกร้องหวีด!..หวีด!...หวีด!... จนเฮียออกมาจากบ้านมาเอาเเกไป สอบถามจากบ้านที่เห็นเหตุการณ์ คือฟ้าผ่าดังตูมใหญ่ลงมาหน้าตรงที่เจ้แกยืน โชคดีเป็นสะพานยอ ประกอบกับเเขวนเหรียญยืน พ่อกล้วย มัจจุราชเลยพลาด สายฟ้าผ่าลงตรงด้านหน้าแก แล้วลอดใต้สะพานยอ ไปลงใส่ลูกน้องเเกไหม้เกรียม เรื่องนี้ก็ดังมาก ปัจจุบันเจ้เเกบอกไม่เคยไปทำบุญที่วัดอื่นเลย...
    เมื่อ 2ปีกว่าๆที่ผ่านมานี้ (ช่วงปี 52) ก็มีวัยรุ่นคนหนึ่ง ไปชอบผู้หญิงที่เค้ามีเจ้าของเเล้ว วุ่นวายกันไปพักหนึ่งเรื่องก็จบที่ว่า …xxอย่าให้xเห็นอีกไม่งั้นxxโดนเเน่.. เรื่องที่มั่วๆมามันสร้างความเจ็บใจให้กับฝ่ายตรงข้ามอย่างมากจนกระทั่งวันนั้น เด็กวัยรุ่นคนนี้ไปนั่งล้อมวงกับเพื่อน โดยหันหลังให้ถนนโดยไม่ได้มองเเละระวัง ที่คู่กรณีบอกว่า…xxอย่าให้xเจอ... คิดว่าเรื่องมันคงจบไปเเล้ว นั่งคุยกับเพื่อนไปเพลิน เจ้าของเรื่องก็วนรถมาดูหนุ่มน้อยเเล้วรอบเเรก รอบที่สองได้ที่จึงลงจากรถลากลูกซองสั้น เหนี่ยวไกระยะใกล้ๆเเค่ 100 เซนต์ไปที่ต้นคอ เสียงดังเปรี้ยง!กระเด็น โต๊ะขาดเป็น 2 ซีก เสื้อขาดเเต่ไม่เข้าเนื้อเลย เด็กหนุ่มคนนี้เเขวนเหรียญยืนท่านพ่อกล้วย วัดหมูดุด ตอนนั้นนั่งไม่ถนัด เอาหลวงพ่อไปห้อยข้างหลังพอดี แรงลูกซองถึงกับหายข้ามคอมาลงโต๊ะขาดอย่างปาฏิหาริย์ เพื่อนอีกสองคนหูหนวกไปเลย ชาวบ้านต่างโจทย์ขานกันทั้งตลาดครับ “



    ใครได้มีโอกาสผ่านไปแส้นทางนี้ สละเวลาสั๊กนิดลงไปกราบหลวงพ่อก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งครับ เดินเที่ยวชมบรรยากาศของวัด อันร่มรื่น ทำบุญ ถวายสังฆทาน อิ่มบุญอิ่มใจครับหลวงพ่อกล้วยท่านเป็น เกจิ ภิกษุ ที่น่าเลื่อมใสจริงๆครับ ถ้าใครคิดจะถ่ายรูปหลวงพ่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก ต้องขอก่อนน่ะครับไม่อย่างนั้นรูปที่ถ่ายไว้อาจจะหายไปเหมือนผมก็เป็นได้ครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    รูปถ่ายหลวงพ่อกล้วยวัดหมูดุด

    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250717_190533.jpg IMG_20250717_190451.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,409
    ค่าพลัง:
    +21,404
    รับทราบครับขอบคุณครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,409
    ค่าพลัง:
    +21,404
    FB_IMG_1751982766303.jpg

    "ดั่งคำกล่าวที่หลวงพ่อเชิญได้เคยกล่าวไว้ วัตถุมงคลของข้าก็เหมือนน้ำที่เต็มตุ่ม ข้าเสกข้าใส่ไปจนล้น ใส่ไปจนหมดวิชาที่ข้ามี"...
    ประวัติหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง อยุธยา
    หลวงพ่อเชิญ เกิดในตระกูล กุฎีสุข ที่หมู่บ้านดงตาล ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2450 มีโยมบิดาชื่อ นายเคลือบ โยมมารดาชื่อ นางโล่ โดยที่หลวงพ่อเชิญเป็นบุตรของพี่น้องทั้งหมด 3 คน น้องสองคนเป็นฝาแฝดหญิงทั้งคู่ ชื่อ นางเจียม และ นางจอม
    เมื่อหลวงพ่ออายุได้ 5 ขวบ โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม จึงต้องอยู่ในความเลี้ยงดูของโยมบิดาแต่ผู้เดียว ยามใดที่โยมบิดาไปทำไร่ไถนา ท่านต้องรับภาระเลี้ยงดูน้องสาวฝาแฝดแทนถึง 2 คน นับเป็นความยากลำบากมากทีเดียว เพราะขณะนั้นท่านเองเพิ่งจะมีอายุ 5-6 ขวบเท่านั้น
    เมื่อท่านอายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาพาไปฝาก หลวงพ่อขาบ วัดฤาชัย ที่ตำบลกุฎี ในอำเภอผักไห่ อันเป็นถิ่นกำเนิดของโยมบิดา เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ โดยที่หลวงพ่อเชิญเล่าเรียนหนังสืออยู่กับหลวงพ่อขาบ 2 ปี จนสามารถอ่านออกเขียนได้พอสมควร
    หลวงพ่อขาบขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลกุฎี เห็นว่าหลวงพ่อเชิญเป็นเด็กดี ขยันหมั่นเพียร เฉลียวฉลาดและว่านอนสอนง่าย จึงนำไปฝาก พระครูบวรสังฆกิจ หรือ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอเสนา
    หลวงพ่อเพิ่มองค์นี้เป็นพระอาจารย์ที่มีความรู้ด้านปริยัติธรรมสูงส่ง เชี่ยวชาญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพียงพร้อมด้วยศีลจารวัตรเคร่งครัดพระธรรมวินัย นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนโบราณ และเรืองวิทยาคมขลัง เนื่องจากเป็นศิษย์หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อีกด้วย
    ดังนั้นหลวงพ่อเพิ่มจึงมีชื่อเสียงด้านแก้คุณแก้การกระทำทางไสยศาสตร์และรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ชื่อเสียงของหลวงพ่อเพิ่มสมัยนั้นจึงโด่งดังไม่ต่างกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่มีอายุแก่กว่าหลวงพ่อเพิ่ม 5 ปี
    ในสมัยนั้นหลวงพ่อปานท่านมาพำนักที่วัดโคกทองเสมอ เมื่อปี พ.ศ.2467 หลวงพ่อเพิ่มสร้างศาลาการเปรียญ หลวงพ่อปานยังมาช่วยยกเสาเอกให้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเพิ่มไม่เคยสร้างพระเครื่องไว้เลย ชนรุ่นหลังจึงไม่มีใครรู้จักท่าน
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงพ่อเพิ่มทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์เพียงอย่างเดียวคือ แผ่นอิฐลงอาคมที่ก้นบ่อน้ำมนต์ 2 แผ่น อีกแผ่นหนึ่งเป็นของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งกล่าวกันว่าน้ำมนต์ในบ่อนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อเชิญท่านนำมารดให้กับลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอ
    บรรพชาและอุปสมบท หลวงพ่อเชิญมาอยู่วัดโคกทองคอยรับใช้หลวงพ่อเพิ่มอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติหน้าที่การงานอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความวิริยะอุตสาหะและเชื่อฟังคำสั่งสอนของหลวงพ่อเพิ่มเป็นอย่างดี
    หลวงพ่อเชิญบรรพยาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 16 ปี ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2466 หลวงพ่อเพิ่มเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทต่อโดยมิได้ลาสิกขา ณ พัทธสีมาวัดโคกทอง ในวันที่ 1 มิถุนายน 2470 โดยมีพระอาจารย์องค์แรกคือ หลวงพ่อขาบ วัดฤาไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดแจ่ม วัดโคกทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลีจากพระอุปัชฌาย์ว่า "ปุญฺญสิริ"
    การศึกษาและพระปริยัติธรรม หลวงพ่อเชิญอุปสมบทอุปสมบทแล้วอยู่ช่วยหลวงพ่อเพิ่มบูรณะวัดโคกทองเรื่อยมา พร้อมกันนั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมโดยสอบได้นักธรรมตรีตั้งแต่เมื่อยังเป็นสามเณรในปี พ.ศ.2469 แล้วสอบได้นักธรรมโทในปีแรกที่อุปสมบท และอีก 8 พรรษาต่อมาจึงสอบได้นักธรรมเอก
    สาเหตุที่หลวงพ่อเชิญสอบได้นักธรรมเอกช้า เนื่องจากไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เพราะเอาเวลาส่วนใหญ่ช่วยงานหลวงพ่อเพิ่มในการบูรณะพัฒนาวัดด้วยความอุตสาหะ ในปี พ.ศ.2474 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมที่ พระสมุห์เชิญ
    ปี พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมเอก พร้อมกับได้รับการแต่งตั้งเป็น พระปลัด ในปี พ.ศ.2480 ท่านจึงต้องทำหน้าที่ทุกอย่างแทนหลวงพ่อเพิ่ม ปฏิบัติภารกิจในตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะอำเภอเสนา ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับแขก ดูแลพระภิกษุสามเณรภายในวัด และเป็นผู้จัดสถานที่ให้กับคนเจ็บที่มารักษาตัว
    แม้แต่ศาสนกิจนอกวัดเกี่ยวกับราชการคณะสงฆ์ เทศนาตามกิจนิมนต์ หรือการเข้าประชุมตามพระเถระกำหนด และออกตรวจตราตามบริเวณวัดและสอบนักธรรมสนามหลวง ภารกิจเหล่านี้ตกอยู่กับท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้น นับเป็นภารกิจที่หนักมาก แต่หลวงพ่อเชิญก็สามารถปฏิบัติด้วยความเรียบร้อยเสมอมาจวบจนหลวงพ่อเพิ่มถึงแก่กาลมรณภาพในปี พ.ศ.2491
    พ.ศ.2491 รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโคกทอง
    พ.ศ.2492 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคกทอง
    พ.ศ.2505 เป็นเจ้าคณะตำบลกุฎี และเป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พ.ศ.2509 เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์
    พ.ศ.2511 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ราชทินนามที่ พระครูวิชัยประสิทธิคุณ
    พ.ศ.2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
    พ.ศ.2522 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
    พ.ศ.2524 สำนักนายกรัฐมนตรี ถวายพัดชั้นพิเศษในฐานะที่เป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดโคกทอง (บวรวิทยา)
    พ.ศ.2532 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ประทานพัดพัฒนาที่มีผลงานดีเด่นแก่หลวงพ่อเชิญ
    การศึกษาพระเวทวิทยาคม หลวงพ่อเชิญเป็นพระอาจารย์ที่มีมากครูมากอาจารย์ เพราะท่านมีใจรักทางด้านพระเวทวิทยาคมมากกว่าการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม เมื่อได้รับการปูพื้นฐาน โดยที่ หลวงพ่อเพิ่ม เป็นพระอาจารย์องค์แรกที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ อาทิ
    การศึกษาอักษรสมัยทั้งภาษาไทยและภาษาขอม การท่องบ่นมนต์คาถา การลงอักขระเลขยันต์ แพทย์แผนโบราณ ยาแก้กันกระทำคุณไสย์ นั่งเจริญสมาธิภาวนาพระกรรมฐาน ตลอดทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน มาตั้งแต่หลวงพ่อเชิญมีอายุเพียง 10 ขวบ
    ในคราวที่บวชเณรแล้วได้ติดตามหลวงพ่อเพิ่มไปซื้อซุงที่ชัยนาท ได้ไปกราบนมัสการ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อเชิญจึงโชคดีได้วิชาบางประการมาจากพระปรมาจารย์อันยิ่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงเกรียงไกรอย่างหลวงปู่ศุข
    เมื่ออุปสมบทในพรรษาแรกก็ไปขึ้นพระกรรมฐานกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก แล้วเดินทางไป ๆ มา ๆ ร่ำเรียนวิชากับหลวงพ่อจงมากมายเป็นระยะเวลาหลายปี
    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค สหายทางธรรมของหลวงพ่อเพิ่ม ชอบมาพำนักที่วัดโคกทอง หลวงพ่อเชิญก็ฝากตัวเป็นศิษย์คอยปรนนิบัติรับใช้แล้วติดตามพายเรือไปส่งและพักเรียนวิชาที่วัดบางนมโคเป็นประจำ
    ในปี พ.ศ.2473 หลวงพ่อเพิ่มพาท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์อีกรูปหนึ่งของท่านคือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อกลั่นชราภาพมากแล้ว
    ในปี พ.ศ.2482 หลวงพ่อเชิญเกิดอาพาธด้วยโรคตาอักเสบจึงเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อพักรักษาตัวอยู่กับ หลวงปู่กล้าย วัดหงษ์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เลยได้รับการแนะนำวิชาการต่าง ๆ จากหลวงปู่กล้ายอีกรูปหนึ่ง
    ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เวลานั้นวัสดุก่อสร้างขาดแคลน การบูรณะวัดก็หยุดชะงักลง หลวงพ่อเชิญจึงถือโอกาสเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณว่าด้วยสาขาเวชกรรมกับ ครูนพ ที่โรงเรียนประทีป ตลาดพลู เป็นเวลา 2 ปีด้วยกัน
    นอกจากนั้นยังมีพระอาจารย์เรืองวิชาที่มีชื่อเสียงในอยุธยาที่หลวงพ่อเชิญเคยไปขอศึกษาวิชามาก็มี หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน หลวงพ่อแจ่ม วัดบัวหัก และหลวงพ่อแพ วัดกลางคลอง ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระอาจารย์ยุคเก่าที่เรืองวิชาทั้งสิ้น
    ขอขอบคุณ
    ที่มา : http://www.sitamulet.com/…/357_หลว%…
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระเจ้าห้าพระองค์เบญจภาคีเนื้อดินเผาหลังปิดจีวรหลวงพ่อเชิญวัดโคกทอง ยกชุด ๓ องค์

    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250718_010443.jpg IMG_20250718_010521.jpg IMG_20250718_010419.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,409
    ค่าพลัง:
    +21,404
    พระปิดตาปลดหนี้นวะโกฏิมหาเศรษฐี รุ่น ๑๕๐ ปี (จันทร์ สิริจฺนโท) วัดบรมนิวาส สุดยอดมวลสาร

    เนื่องจากวันที่ 24 มีนาคม 2549 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 150 ปีเกิดของท่านเจ้าคุณอุปาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ซึ่งท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีคุณูปการณ์มากมายต่อพระศาสนาโดยเฉพาะในการอุปถัมป์พระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ให้มั่นคงจนมาถึงปัจจุบัน
    ทางคณะศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาส จึงได้จัดงานขึ้นเพื่อระลึกพระคุณของท่านที่มีต่อวัดบรมฯและคณะสงฆ์ธรรมยุต อีกทั้งยังเป็นการบำเพ็ญกุศลถวายท่านเจ้าคุณอุปาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของท่านในวาระ 150 ปีชาติกาล อีกด้วย
    นอกจากท่านจะมีคุณูปการสำคัญต่อการปฏิบัติธรรมแล้วท่านยังเป็นต้นตำหรับในการทำเศรษฐีนวโกฐิ ที่ปัจจุบันต่างแสวงหากันมากมายวัดต่างๆ ในช่วงนี้ต่างนำมาจัดสร้างกัน กระแสจะว่าไปก็ลองๆ จตุคามเลยทีเดียว โดยท่านเจ้าคุณอุบาลีท่านได้ตำราการสร้างมาจากไปธุดงค์ทางฝั่งลาว ด้านหลังพระปิดตาได้จารึกพระยันต์เศรษฐีนวโกฐิ จึงเป็นที่มาของพระปิดตารุ่นนี้
    เป็นพิธีใหญ่ของวัดบรมนิวาสอีกหนึ่งพิธี
    มวลสารการจัดสร้าง
    มวลสารในการดำเนินการจัดสร้างพระปิดตาปลดหนี้ได้จากผงใบลานชำรุดที่เก็บรักษาไว้ในพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดบรมนิวาสราชวรวิหารกทม. เป็นใบลานที่เชื่อกันว่าพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(หลวงปู่จันทร์สิริจนฺโท)อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เป็นผู้จารขึ้น ได้นำมารวมกับมวลสาระสำคัญอีกมากมาย ได้แก่
    1.ผงจากพระพิชิตมาร พระประธานบนศาลาอุรุพงษ์ วัดบรมนิวาส
    2.ผงใบลาน ลายมือของท่านเจ้าคุณอุปาลีคุณูปรามาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)
    3.ผงกระเบื้องหลังคาศาลาอุรุพงษ์ วัดบรมฯ
    4.ไม้กุฏิของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล จากวัดดอนธาตุ
    5.ไม้กุของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่มาจากวัดป่าหนองผือ,วัดป่าบ้านโคก,วัดป่ากลางโนนกู่
    6.ผงอิทธิเจ
    7.ผงพระธาตุพระสิวลี
    8.แป้งเสกหลวงปู่บุดดา ถาวโร
    9.แป้งเสกหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    10.แป้งเจิมหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    11.แป้งเจิมหลวงปู่โส กัสสโป
    12.ผงบางขุนพรหม
    13.มวลสารวัตถุมงคลของ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    14..มวลสารวัตถุมงคลของ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    15..มวลสารวัตถุมงคลของ หลวงปู่โส กัสสโป
    16..มวลสารวัตถุมงคล รุ่น 9 มงคลของหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    17.มวลสารวัตถุมงคลของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    18.ผงเสกของ ครูบาธรรมชัย
    19.ผง 300 อาจารย์
    20.ผงจากพระกรุ
    21.ดินสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
    22.ผงว่านเสกของ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    23.ผงจากดอกบัวบูชา พระแก้วมรกต
    24.ผงตะไบพระกริ่งสิทธัตโถปี 2508
    **และมวลสารจากอัฐิ,เกศา,และอังคารธาตุ 150 คณาจารย์ อันได้แก่
    1.อัฐิ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดนรนาถฯ กรุงเทพฯ
    2.อัฐิ พระหรหมมุนี วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    3.อัฐิ หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ ระยอง
    4.อัฐิ ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    5.อัฐิ หลวงปู่ประยุทธ์ ธัมยุตโต
    6.อัฐิ หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    7.อัฐิ หลวงปู่คำพอง กุสลธโร วัดป่านิโคธาราม อุดรฯ
    8.อัฐิ หลวงปู่ทองฤทธิ์ อุตตโม
    9.อัฐิ หลวงพ่อสนั่น รกฺขิตสีโล สกลนคร
    10.อัฐิ อาจารย์สิงห์ทอง ธัมวโร สกลนคร
    11.เกศา สมเด็พระอริยวงศาคตญาณ (อยู่) วัดสะเกศ กรุงเทพฯ
    12.เกศา สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน) วัดบวรฯ กรุงเทพฯ
    13.เกศา สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ) วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ
    14.เกศา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) วัดบรมฯ กรุงเทพฯ
    15.เกศา พระอุปาลีคุณูปรามาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมฯกรุงเทพฯ
    16.เกศา พระธรรมเจดีย์ (จูม) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรฯ
    17.เกศา - อังคาร อาจารย์พรหม จิรปุญโญ
    18.เกศา - อังคาร อาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    19.เกศา ท่านพ่อลี ธัมมธโร
    20.เกศา หลวงปู่ขาว อนาลโย
    21.เกศา - ชานหมาก อาจารย์ฝั้น อาจาโร
    22.เกศา หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    23.เกศา หลวงปู่แว่น ธนปาโร
    24.เกศา หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    25.เกศา - ชานหมาก หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ
    26.เกศา หลวงปู่ลือ ปุญโญ
    27.เกศา หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม
    28.เกศา หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    29.เกศา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    30.เกศา อาจารย์วัน อุตตโม
    31.เกศา - อังคาร หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
    32.เกศา - อังคาร หลวงปู่พวง สุวีโร
    33.เกศา หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
    34.เกศา หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    35.เกศา หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    36.เกศา หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    37.เกศา อาจารย์แบน ธนกาโร
    38.เกศา หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
    39.เกศา หลวงพ่อเกษม เขมโก
    40.เกศา หลวงพ่อโชติ โชติปาโล
    41.เกศา หลวงปู่จันทร์ศรี วัดโพธิสมภรณ์
    42.เกศา หลวงปู่หลอด ปาโมทิโต
    43.เกศา หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร
    44.เกศา หลวงตาแตงอ่อน กลญาณธัมโม
    45.เกศา หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
    46.เกศา หลวงปู่เพียร วิริโย
    47.เกศา หลวงปู่รอด วัดทุ่ศรีเมือง
    48.เกศา หลวงปู่มา ญาณวโร
    49.เกศา หลวงตาพวง สุขินทริโย
    50.เกศา หลวงปู่ต้น สุทธิกาโย
    51.เกศา หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    52.เกศา หลวงปู่โส กัสสโป
    53.เกศา หลวงปู่ลี กุสลธัมโม
    54.เกศา หลวงปู่จันทรา ถาวโร
    55.เกศา หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    56.เกศา หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม
    57.เกศา หลวงปู่บุญพิน กตปุณโณ
    58.เกศา หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม
    59.เกศา หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    60.เกศา อาจารย์อุทัย สิรินธโร
    61.เกศา หลวงปู่กว้าน เขมโก
    62.เกศา - อังคาร ครูบากรองคำ วัดพระธาตุดอยเปา
    63.เกศา สมเด็จพระญาวโรดม วัดเทพศิรินทร์
    64.เกศา หลวงพ่อคูณ สุเมโธ
    65.เกศา หลวงปู่เรือง วัดเขาสามร้อยยอด
    66.เกศา หลวงตาพันธ์ อาจาโร
    67.เกศา หลวงปู่เจิม ปัญญาพโล
    68.เกศา หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมธโร
    69.เกศา หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ
    70.เกศา หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง
    71.เกศา หลวงปู่แสง ญาณวโร
    72.เกศา ครูบาศรีวิชัย
    73.เกศา อาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร
    74.เกศา หลวงปู่เริ่ม วัดจุกเฌอ
    75.เกศา เจ้าคุณนรฯ
    76.เกศา หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
    77.เกศา หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ
    78.เกศา หลวงปู่พร สุมโน
    79.เกศา หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
    80.เกศา หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
    81.เกศา หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    82.เกศา หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ
    83.เกศา หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน
    84.เกศา พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดเจดีย์หลวง
    85.เกศา หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
    86.เกศา หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน
    87.เกศา หลวงปู่ทา วัดถ้ำซับมืด
    88.เกศา หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า
    89.เกศา ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล
    90.เกศา หลวงปู่ชม วัดนางใน
    91.เกศา - อังคาร หลวงปู่บุญ ชินวังโส
    92.เกศา ครูบาน้อย วัดบ้านปง
    93.เกศา อาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
    94.เกศา อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    95.เกศา หลวงปู่คำดี ปภาโส
    96.เกศา หลวงปู่บัว สิริปุญโญ
    97.เกศา ครูบาบุญบั๋น วัดร้องคุ้ม
    98.เกศา - อังคาร อาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    99.เกศา หลวงปู่โง่น โสรโย
    100.เกศา หลวงปู่เพ็ง พุทธสโร
    101.เกศา ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง
    102.เกศา หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ
    103.เกศา อาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    104.เกศา หลวงปู่สาย เขมธัมโม
    105.เกศา หลวงปู่กิ ธัมมุตตโม
    106.เกศา หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
    107.เกศา หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    108.เกศา หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    109.เกศา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัญฑิโต
    110.เกศา หลวงปู่สังข์ สงฺกิจโจ
    111.อังคาร หลวงปู่เสาร์ กันตสีโร
    112.อังคาร หลวงปู่สาม อกิญจโณ
    113.อังคาร หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล
    114.อังคาร หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส
    115.อังคาร- เกศา หลวงปู่คำพอง ติสโล
    116.อังคาร - เกศา หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
    117.อังคาร- เกศา หลวงปู่อุ่น ชาคโร
    118.อังคาร - เกศา หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    119.อังคาร - เกศา หลวงปู่เทศก์ เทศรังสี
    120.อังคาร หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    121.อังคาร หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตุโต
    122.อังคาร หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวนโต
    123.อังคาร หลวงปู่ถิร ถิรธัมโม
    124.อังคาร หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม
    125.อังคาร หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
    126.อังคาร หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    127.อังคาร หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร
    128.อังคาร หลวงปู่อุ่น กลฺญาณะมโม
    129.อังคาร หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ
    130.อังคาร หลวงปู่ทองอินทร์ กุสลจิตโต
    131.อังคาร หลวงปู่สีทน สีลธโน
    132.อังคาร อาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
    133.อังคาร หลวงปู่สอน ถาวโร
    134.อังคาร หลวงปู่กรอง วัดสระมณฑ,
    135.อังคาร หลวงพ่อชา สุภัทโท
    136.อังคาร หลวงปู่สีลา อิสฺสโร
    137.อังคาร หลวงปู่เมตตาหลวง กตปุญโญ
    138.อังคาร พระราชภาวนาวิสุทธิเถระ (กำพล) วัดเทพศิรินทร์
    139.อังคาร หลวงปู่มหาบุญมี สิรินทโร
    140.อังคาร อาจารย์บุญมา ฐิตเปโม
    141.อังคาร อาจารย์กู่ ธัมมทินโน
    142.อังคาร หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    143.อังคาร หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
    144.อังคาร หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต
    145.อังคาร พระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดศรีเมือง
    146.อังคาร หลวงปู่อุ่น อุตตโม
    147.อังคาร หลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต
    148.อังคาร หลวงปู่จำปี วัดป่าสาละวัน
    149.อังคาร หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร
    150.อังคาร ครูบาคำแสน วัดสวนดอก
    กราบอาราธนาพระกรรมฐานและพระเกจิเรืองวิทยาคมแห่งยุคนี้มาพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่จัดสร้างงาน 150ปี ท่านเจ้าคุณอุปาลีคุณูปรามาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เพื่ออธิฐานจิตให้...รายนามดังนี้
    1.สมเด็จญาณวโรดม วัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ
    2.พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวส กรุงเทพฯ ประธานจุดเทียนชัย (ปัจจุบัน สมเด็จพระวนรัตน)
    3.หลวงปู่บุญฤทธิ์ ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ นนทบุรี
    4.หลวงปู่จันทร์แรม วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน บุรีรัมย์
    5.หลวงตาพวง วัดศรีธรรมาราม ยโสธร ประธานดับเทียนชัย
    6.หลวงปู่บุญเพ็ง วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น
    7.หลวงปู่ท่อน วัดป่าศรีอภัยวัน เลย
    8.พระราชวรคุณ วัดบูรพาราม สุรินทร์
    9.หลวงพ่อคำบ่อ วัดป่าบ้านตาล สกลนคร
    10.หลวงพ่อคูณ วัดป่าภูทอง อุดรธานี
    11.พระวิมลศีลาจาร วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    12.หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา
    13.หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา
    14.หลวงพ่อทอง วัดรังสีสุทธาวาส ชลบุรี
    15.หลวงพ่อจ้อย วัดหนองน้ำเขียว ชลบุรี
    16.หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม สระแก้ว
    17.หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค อุทัยธานี
    18.หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    19.หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ ระยอง
    20.พระอาจารย์วิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250718_154259.jpg IMG_20250718_153759.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,409
    ค่าพลัง:
    +21,404
    get_auc1_img (26).jpeg 1752829115593.jpg 1752829119635.jpg 1752829148521.jpg 1752829154890.jpg 1752829158199.jpg
    พระสมเด็จ รุ่นสิริโลกนาถ เป็นที่ยอมรับของนักสะสมพระเครื่องในปัจจุบันว่าเป็นพระเครื่องที่ควรเก็บไว้อย่างยิ่งซึ่งถือกันว่าเสมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) แต่สมเด็จรุ่นสิริโลกนาถออกที่วัดสะเกศ (วัดภูเขาทอง)เป็นวัดของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) เช่นเดียวกันและถือเป็นรุ่นแรกด้วย
    เนื่องจากท่านพระครูโฆษิตสมณคุณ รองเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้รวบรวมพระผงสมเด็จเก่าเกือบทุกรุ่นที่แตกหักของตระกูลพระสมเด็จวัดระฆังทุกๆรุ่นไว้มากมาย มีเมตตามอบให้เป็นชนวนผสม กอปรกับนักสะสมพระเครื่องซึ่งศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปรากฎว่าในรุ่น สิริโลกนาถ ไม่มีพระสมเด็จสักการะบูชาไว้เป็นที่ระลึกเลย มีแต่ ๙ พระปรมาจารย์เท่านั้น
    คณะกรรมการจึงได้จัดสร้าง พระสมเด็จ ๕ ทรงพิมพ์ คือพิมพ์ ๙ ชั้น หูบายศรี พิมพ์ ๓ ชั้นหูบายศรี พิมพ์ฐานแซม และทรงพิมพ์พระประธานหลังมหายันต์ยอดมงคล ได้ยันต์อักษร สิริโลกนาถ นอกจากมวลสารหลักจากวัดระฆังแล้วยังมีส่วนผสมดังนี้คือ
    มีผงครูบาเจ้าเกษม ลำปาง
    ผงหลวงพ่อดาบส เชียงราย
    ผงหลวงปู่น้อย เชียงใหม่
    ผงหลวงปู่สิม เชียงใหม่
    ผงหลวงปู่ดวงดี เชียงใหม่
    ผงครูบาอินทร์ ฟ้าหลั่ง เชียงใหม่
    ผงหลวงปู่หล้าตาทิพย์ เชียงใหม่
    ผงหลวงปู่แก้ว เชียงใหม่
    ผงว่าน ๑๐๘ ครูบาศรีวิชัย รุ่นสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เชียงใหม่ เป็นต้น
    พระราชาคณะผู้ทรงศีลประกอบพิธีพิเศษ ณ.พระวิหารสมเด็จพุฒาจารย์ (โต วัดระฆัง) ด้วยการสวดพระธรรมจักรกัปวตนสูตร แล้วสวดพระคาถาชินบัญชร 108 จบ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2536
    นำเข้าอภิมหาพิธีพุทธาภิเษก ณ.พระอุโบสถ วัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) กรุงเทพฯ ในวันที่ 23 กันยายน 2536
    รายนามพระภาวนาจารย์นั่งปรกอธิฐานจิต มีดังนี้
    1.) สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ
    2.) หลวงพ่อสำราญ วัดปากครองมะขามเฒ่า
    3.) หลวงพ่อเปลื่อง วัดบางคลาน
    4.) หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
    5.) หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    6.) หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    7.) หลวงพ่อยิด วัดหนจอก
    8.) หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
    9.) หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ
    10.) หลวงพ่อพิมพ์พา วัดหนองตางู
    11.) หลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์
    12.) หลวงพ่อดี วัดพระรูป
    13.) หลวงพ่อป่วน วัดหนองบัวทอง
    14.) หลวงพ่อทองเหมาะ วัดหนองบัวทอง
    15.) หลวงพ่อทองหยอด วัดชีสุขเกษม
    16.) หลวงพ่อทับทิม วัดวิมลโกศาราม
    17.) หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง
    18.) หลวงพ่อทอด วัดหนองสุ่ม
    19.) พระอาจารย์ไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
    20.) หลวงพ่อเจริญ วัดชุมพลนิกายาราม
    21.) หลวงพ่อโสภณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
    22.) หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ
    23.) หลวงพ่อเริ่ม วัดไตรตรึงษาราม
    24.) หลวงพ่อแด้ว วัดปงสนุกใต้
    25.) หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดสวนดอก
    26.) หลวงพ่อสงค์ วัดดอยขุมเงิน
    27.) พระสุเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ
    28.) พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม
    29.) หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม
    30.) ครูบาแสงหล้า วัดพระธาตุสายเมือง
    31.) หลวงพ่อผล วัดท่าถนน
    32.) หลวงพ่อเพชร วัดสิงห์ทอง
    33.) หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุพนม
    34.) หลวงพ่อตี๋ วัดสังกัสคีรี
    35.) พะอาจารย์ประเสริฐ วัดพระธาตุผาเงา
    36.) หลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์
    37.) พ่อท่านแก้ว วัดเขาปูน
    38.) หลวงปู่ทองธรรมโชติ วัดเขานางบวช
    39.) พระคณุสินทรสมุทรกิจ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
    40.) หลวงพ่อจวน วัดไก่เตี้ย
    41.) หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
    42.) หลวงพ่อเณรโกศล วัดศรีสุดาราม
    43.) หลวงพ่อชลอ วัดกระดังงา
    44.) พระอาจารย์ชาญณรงค์ วัดเลา
    45.) หลวงพ่อรวย วัดกษัตรสธืราชวรวิหาร
    46.) หลวงพ่อหร่ำ วัดโป่งแดง
    47.) หลวงพ่อนะ วัดหนองบัว
    48.) หลวงพ่ออุตมะ วัดวังวิเวการาม
    49.) พระครูโฆษิตสมณะคุณ วัดระฆัง.เป็นต้น
    อ้างอิง : นิตยสารพระเครื่องนะโม ปี 2536
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จสิริโลกนาถฝังพระธาตุองค์ใหญ่บนหน้าอก

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250718_162843.jpg IMG_20250718_162911.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,409
    ค่าพลัง:
    +21,404
    FB_IMG_1752839131770.jpg

    ๑๒ พฤษภาคม ๙๓ ปีชาตกาล
    พระครูสิริวัฒนการ (ศรีเงิน อาภาธโร) วัดดอนศาลา
    มีนามเดิมว่า ศรีเงิน นามสกุล ชูศรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ บ้านไผ่รอบ หมู่ที่ ๗ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โยมบิดาชื่อ นายสุด ชูศรี โยมมารดาชื่อ นางเฟือง ชูศรี มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกันรวม ๕ คน คือ
    ๑.นางแก้ว สมรสกับ นายปลอด แก้วสง
    ๒.นางสาวแหม้ว ชูศรี
    ๓.นายชู สมรมกับ นางเฮ้ง ชูศรี
    ๔.นางผึ้ง สมรสกับ นายบรรลือ หมุนหวาน
    ๕.พระครูสิริวัฒนการ (ศรีเงิน)
    การศึกษา
    จบชั้น ป.๔ จากโรงเรียนวัดดอนศาลา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔
    การบรรพชาอุปสมบท
    บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วัดดอนศาลา โดยมีพระพุทธิธรรมธาดา เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า "อาภาธโร"
    การศึกษาพระธรรมวินัย
    พ.ศ.๒๕๐๑ สอบไล่ได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดดอนศาลา
    ตำแหน่งทางสงฆ์
    เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร มีราชทินนามที่ พระครูสิริวัฒนการ (รจร.)
    ในวัยเด็กท่านใช้ชีวิตเหมือนกับเด็กชายในชนบททั่วไป อาศัยอยู่กับพ่อแม่และพี่ ๆ แต่เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ มาดาก็ถึงแก่กรรม ท่านจึงอยู่ภายใต้การอุปการะของบิดาและพี่ ๆ บิดาของท่านได้จัดการให้ท่าน ได้ศึกษาเล่าเรียนขั้นเบื้องต้นที่โรงเรียนใกล้บ้าน คือ โรงเรียนวัดดอนศาลา เด็กชายศรีเงินเรียนอยู่ที่นั้นจนกระทั่งจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือ ชั้นประถมปีที่สี่ และถือเป็นการจบขั้นบังคับ ภายหลังจากจบการศึกษาชั้นประถมต้นแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินไม่ได้ศึกษาต่อที่ใหน ออกไปช่วยการงานที่บ้าน ภายหลังจากที่ท่านจบชั้นประถมได้เพียงไม่กี่ปีบิดาก็ถีงแก่กรรมไปอีกคน คราวนี้ท่านและพี่ ๆ ต้องกำพร้าพ่อและแม่ แต่โชคดีหน่อยที่ตอนนั้นท่านมีอายุพอที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว คือมีอายุได้ ๑๗ ปี ส่วนพี่ ๆ นั้นก็ต่างโตกันหมดแล้ว ท่านจึงอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ

    นายศรีเงินหรือพระครูสิริวัฒนการในปัจจุบันอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ จนครบบวชพระ ญาติ ๆ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อจะได้ใกล้ชิดพระศาสนาในฐานะพุทธบุตร นายศรีเงินไม่ขัดข้อง ท่านจึงได้เริ่มเข้าสู่ร่มพระศาสนาตั้งแต่บัดนั้น พระครูศิริวัฒนการได้เริ่มเข้าสู่พระศาสนาในฐานะพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ตรงกับวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล สำเร็จเป็นพระภิกขุ ภาวะภายในพัทธสีมาของวัดดอนศาลานั่นเอง โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิธรรมธาดา อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย อ. ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ มีพระกรุณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอควนขนุน และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมีพระครูกาชาด (บุญทอง) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลาเป็นพระอนุสาสนาจารย์
    พระอุปัชฌาย์ให้มคธนามหรือตั้งฉายาทางพระให้ว่า "อาภาธโร" อยู่ที่วัดดอนศาลานั้นเองและภายหลังจากอุปสมบทท่านได้พิจารณาทบทวนถึงชีวิตของตัวเองพบความไม่เที่ยงแท้ในชีวิต ระลึกถึงความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากและการสูญเสียของรักของหวง โดยเริ่มแต่สูญเสียมารดาตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ และมาสูญเสียบิดาเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เห็นความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และได้พบว่าชีวิตบรรพชิตสุขสงบกว่า น่าอยู่มากกว่าชีวิตฆราวาส ท่านก็เลยเกิดความคิดที่จะใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตต่อไป
    เมื่อตัดสินใจได้แล้ว พระภิกษุศรีเงินก็คิดต่อไปแล้วว่าหากจะอยู่ในเพศบรรพชิตก็ควรจะอยู่อย่างมีค่า อย่างน้อยควรจะมีความรู้ทางศาสนาบ้างท่านจึงได้เข้าศึกษาทางด้านปริยัติที่วัดดอนศาลา
    ศึกษาตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีโท จนกระทั่งสอบได้ชั้นสูงสุดคือนักธรรมชั้นเอก พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาจากครูบาอาจารย์ภายในวัดดอนศาลา ซึ่งวัดดอนศาลานั้น อย่างที่ทราบกันคือ เป็นสถานที่วิทยาการด้านไสยเวทเจริญรุ่งเรืองมานาน วิชาวิปัสสนานั้นเป็นหลักสูตรขั้นพื้นฐานของไสยเวท ฉะนั้นในวัดจึงมีครูบาอาจารย์ที่เก่งในเรื่องนี้อยู่ไม่ขาด

    เมื่อได้ศึกษาวิปัสสนา พระอาจารย์ศรีเงิน ก็เกิดสนใจในวิชาไสยเวทขึ้นมา จะว่าไปแล้วสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนช่วยในการผลักดันท่านให้มาสนใจในเรื่องนี้อยู่มาก หล่าวคือ ตั้งแต่ท่านเด็ก ๆ มาแล้ว ในบริเวณควนขนุน พระอาจารย์ที่เก่งในทางไสยเวทมีมากรูป และแต่ละรูปล้วนได้รับความเคารพนับถือและได้สร้างประโยชน์เกื้อกูลพระศาสนามากมาย พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านเล็งเห็นว่าควรจะเจริญรอยตามอย่างครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยทำไว้ ศึกษาให้ถ่องแท้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พระศาสนาได้มากมาย ขณะที่พระอาจารย์ศรีเงินเกิดความสนใจจะศึกษาไสยเวทนั้น ศิษย์เอกของสำนักเขาอ้อที่เชี่ยวชาญในวิชาของเขาอ้อยังมีชีวิตอยู่หลายคน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส ฝ่ายบรรพชิตนั้น เจ้าสำนักรูปสุดท้ายของสำนักเขาอ้อ คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ยังมีชีวิตแต่ก็เริ่มชราภาพแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีศิษย์เอกของพระอาจารย์เอียด อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาอีกรูปหนึ่งคือพระครูพิพัฒน์สิริธร หรือ พระอาจารย์คง สิริมโต เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ทางฝ่ายฆราวาสก็มี อาจารย์นำ แก้วจันทร์ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ เป็นต้น
    เมื่อท่านอาจารย์ศรีเงินคิดจะศึกษาค้นคว้าวิชาไสยเวทของสำนักเขาอ้ออย่างจริงจัง ท่านก็คิดถึงเจ้าสำนักเขาอ้อเป็นอันดับแรก คือ พระอาจารย์ปาล ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในพัทลุงขณะนั้น ท่านก็เลยไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ปาลที่วัดเขาอ้อ พร้อมกันนั้นก็ได้เริ่มทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา โดยการสอนพระปริยัติแก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดเขาอ้อ ระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงิน จึงต้องเทียวมาเทียวไป ระหว่างวัดดอนศาลาที่อยู่ประจำกับวัดเขาอ้อที่ไปเรียน และสอนหนังสือ การเดินทางไปวัดเขาอ้อแต่ละครั้ง พระอาจารย์ศรีเงินทำให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตัวท่าน และแก่พระศาสนา คือ ไปเรียนวิชากับพระอาจารย์ปาลอันเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง และสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรอันเป็นประโยชน์แก่พระศาสนา
    พระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มาจากพระอาจารย์ปาลมาก จนมีผู้กล่าวว่าท่านอาจารย์ปาลได้มอบวิชาต่างๆ ให้กับพระอาจารย์ศรีเงินมากที่สุด ขนาดเท่ากับผู้ที่จะขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อรุ่นต่อไปได้ มีผู้วิเคราะห์ต่อไปว่า พระอาจารย์ศรีเงินอาจจะเป็นผู้ที่พระอาจารย์ปาล ได้คัดเลือกให้ทำหน้าที่เจ้าสำนักเขาอ้อรูปต่อไปสืบต่อจากท่าน แต่การคณะสงฆ์เปลี่ยนแปลง พระอาจารย์ปาลก็ทราบความเป็นไปในอนาคตดี จึงไม่ได้หวังอะไรในเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง หวังเพียงให้สืบทอดวิชาเพื่อไม่ให้วิชาสายเขาอ้อสูยหาย และจะได้นำไปสร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติต่อไป เหมือนกับที่บุรพาจารย์เคยทำมา จึงพูดได้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินเป็นศิษย์เอกของพระอาจารย์ปาล
    นอกจากจะได้ไปศึกษากับพระอาจารย์ปาลอย่างเป็นทางการแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินท่านก็ได้ศึกษากับพระอาจารย์คง วัดบ้านสวน เพิ่มเติมด้วยเสริมในส่วนที่พระอาจารย์คงเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องการแพทย์แผนโบราณ และคาถาอาคมเกี่ยวกับการแพทย์ นอกจากนั้นแล้วในส่วนของฆราวาส พระอาจารย์ศรีเงินท่านได้รับถวายความรู้ จากศิษย์ฆราวาสคนสำคัญของวัดเขาอ้อท่านหนึ่ง คือ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ พระอาจารย์ศรีเงินเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ทางวัดเขาอ้อกำหนดไว้ คุณสมบัติเด่นๆ ที่เห็นชัดก็คือการยึดพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุธรรม ซึ่งท่านได้นำมายึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ปาลจึงได้คัดเลือกท่าน จะเห็นได้ว่าพระอาจารย์ปาลเลือกไม่ผิดคน ท่านรูปนี้มีคุณสมบัติต่างๆ เหมาะสมที่จะทำหน้าที่สืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อจริง ต่อมาเมื่อท่านได้มีโอกาสนำวิชาต่างๆ มาใช้ ก็ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ท่านจึงได้สร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและสังคมมากมาย ไม่ว่าจะทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของความผูกพันฉันศิษย์อาจารย์กับพระอาจารย์ปาลท่านก็ได้ปฏิบัติตัวในฐานะศิษย์อย่างสมบูรณ์
    เมื่อพระอาจารย์ปาลชราภาพมากเข้า ช่วยตัวเองไม่สะดวก จะอยู่ที่วัดเขาอ้อก็ไม่มีคนดูแลอย่างเป็นกิจจะลักษณะ พระอาจารย์ศรีเงินเองก็อยู่ไกล เกรงว่าจะดูแลปรนนิบัติรับใช้อาจารย์ไม่เต็มที่ ท่านจึงได้รับพระอาจารย์ปาล มาอยู่เสียที่วัดดอนศาลา ท่านทำหน้าที่ดูแลปรนนิบัติอย่างใกล้ชิดอยู่เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งพระอาจารย์ปาลต้องการจะกลับไปมรณภาพที่วัดเดิม คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งท่านกลับไปได้เพียงประมาณ ๓ เดือนก็มรณภาพ
    เมื่อพระอาจารย์ปาลมรณภาพ พระอาจารย์ศรีเงินก็เป็นแม่งานใหญ่ในการจัดการศพของท่าน เรียกว่าพระอาจารย์ศรีเงินทำหน้าที่ของศิษย์ได้สมบูรณ์ทุกประการ เรื่องความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์นั้น พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านยังได้แสดงออกอย่างน่าชื่นชมกับอาจารย์ทุกรูป เป็นต้นว่าพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เมื่อพระอาจารย์นำมาอุปสมบทอยู่ที่วัดดอนศาลาในวัยชรา ก็ได้พระอาจารย์ศรีเงินคอยดูแลปรนนิบัติ และกล่าวกันว่าระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาสำคัญ ๆ อีกหลายอย่างจากพระอาจารย์นำ เรียกว่า พระอาจารย์นำมีวิชาเท่าไหร่ ท่านก็ถ่ายทอดให้หมดในวัยใกล้วาระสุดท้าย พระอาจารย์ศรีเงินเองก็ดูแลปรนนิบัติรับใช้ท่านอย่างดี แม้ว่าจะโดยพรรษา พระอาจารย์ศรีเงินอาวุโสมากกว่าพระอาจารย์นำมาก แต่ท่านก็เคารพในฐานะอาจารย์ ปฏิบัติต่อท่านอย่างศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ พูดได้ว่าพระศรีเงินเป็นศิษย์สายเขาอ้อรูปหนึ่งที่ได้รวบรวมวิชาดีทั้งหลายไว้มากมาย
    พระอาจารย์ศรีเงิน มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา
    อย่างไรก็ตาม พระอาจารย์ศรีเงิน เคยได้เปิดกรุวัตถุมงคลของท่านส่วนหนึ่ง เมื่อประมาณปี 2536 เพื่อสมนาคุณให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนสร้างศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาสิริวัฒนการ) โรงเรียนวัดดอนศาลา ซึ่งมีหลายรุ่นด้วยกัน เช่น พระสมเด็จเนื้อนวโลหะ ปี 2524 พระกลีบบัวผงว่านยา ปี 2526 พระกริ่งสิริวัฒน์ รุ่นฉลองสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศ ปี 2534 พระผงว่านสิริวัฒน์ พระปิดตาเนื้อชินตะกั่ว พระของขวัญเนื้อผงว่านยาอาจารย์นำ ปี 2513 และตะกรุดต่าง ๆ แต่ปัจจุบันวัตถุมงคล พระเครื่อง พระอาจารย์ศรีเงินเหล่านี้ล้วนเสาะแสวงหาได้ยากยิ่งนัก
    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามพระครูสิริวัฒนการ และได้สร้างพระกริ่งสิริวัฒน์ รุ่นฉลองสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศ เมื่อปี 2534
    ตลอดชีวิต พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา อาศัยในร่มเงาพระพุทธศาสนา ประกอบคุณงามความดีด้วยจิตใจที่ผ่องแผ้ว แม้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินจะละสังขารลาโลกไปแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีที่ได้ประกอบศาสนกิจมาตลอดชีวิต จะเป็นที่จดจำของชาวพัทลุงอย่างมิลืมเลือน
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จ๗ชั้นวัดดอนศาลา
    อ.ศรีเงิน

    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250718_184055.jpg IMG_20250718_184131.jpg
     
  8. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    3,033
    ค่าพลัง:
    +5,731
    จองครับ
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,409
    ค่าพลัง:
    +21,404
    วันนี้ จัดส่ง
    1752864164000.jpg
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...