โทษที่จะได้รับของผีที่มุสา

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย piyaa, 28 พฤศจิกายน 2009.

  1. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    คำว่า มุสาวาทนี้ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ มุสา + วท , มุสา เป็นนิบาตบท แสดงถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริง เช่นมีคนมาถามเราว่ามีเงินไหม ? เรามี แต่ตอบว่าไม่มี นี้เป็นตัวมุสา คือหมายถึงวัตถุที่ไม่เป็นความจริง หรือในเรื่องราวต่าง ๆ หากเรารู้เรื่องนั้นแล้วแต่เมื่อมีผู้มาถามเราก็กล่าวปฏิเสธไปว่าไม่รู้ หรือเราไม่รู้แต่บอกว่าเรารู้นี้เป็นการมุสา คือไม่เป็นไปตรงกับคำพูด

    วาท หมายถึงคำพูด เมื่อรวมกันแล้วเป็นมุสาวาท หมายถึงคำพูดที่ไม่ตรงกับความจริง ดังแสดงวจนัตถว่า “มุสา วทนฺติ เอเตนาติ มุสาวาโท” คนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่งวัตถุสิ่งของเรื่องราวที่ไม่จริงกล่าวให้เป็นจริง ด้วยเจตนาอันนั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวไม่จริงนั้น ชื่อว่า มุสาวาท ได้แก่ วิสํวาทนเจตนา คือเจตนาทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ซึ่งประกอบกับโลภะ โทสะชวน ที่เกิดในทางกาย และทางวาจา


    การกล่าวมุสาวาทนี้ ใช้โดยวาจาเป็นส่วนมาก ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่ามุสาวาท แต่ถ้าใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่ไม่เกี่ยวกับวาจา ก็ได้ชื่อว่ามุสาวาทเช่นเดียวกัน ข้อตัดสินที่จะให้รู้ได้ว่า ผู้นี้กล่าววาจาสำเร็จเป็นมุสาวาทหรือไม่นั้น ต้องตัดสินด้วยองค์ประกอบ ๔ อย่าง ถ้าการกล่าวนั้นครบองค์ ๔ ก็สำเร็จเป็นมุสาวาท ถ้าไม่ครบองค์ ๔ ก็ยังไม่จัดเป็นมุสาวาท


    องค์แห่งมุสาวาท ๔ อย่าง

    ๑. อตถวตฺถุ สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่จริงอย่างหนึ่ง

    ๒. วิสํวาทนจิตฺตตา มีจิตคิดจะกล่าวเท็จอย่างหนึ่ง

    ๓. ปโยโค พยายามกล่าวเท็จด้วยกาย หรือวาจาตามประสงค์ของตนอย่างหนึ่ง

    ๔. ตทตฺถวิชานนํ ผู้อื่นมีความเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้น


    ในข้อนี้ มุสาวาทแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

    ๑. สำเร็จเป็นมุสาวาท แต่ไม่ล่วงกรรมบท
    ๒. สำเร็จเป็นมุสาวาทด้วยล่วงกรรมบถด้วย


    การกล่าวมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ แต่ไม่ทำให้ความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ที่หลงเชื่อแต่อย่างใด ชนิดนี้เป็นเพียงแค่มุสาวาท แต่ไม่ล่วงกรรมบท คือไม่นำไปสู่อบาย

    สำหรับการกล่าวมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ และทำความเสียหายให้แก่ผู้ที่หลงเชื่อ ชนิดนี้ สำเร็จเป็นมุสาวาทด้วย ย่อมก้าวล่วงกรรมบถด้วย คือสามารถนำไปสู่อบายได้

    ปโยคะ คือ ความพยายามในการมุสา ๔ อย่าง

    ๑. สาหัตถิกะ พยายามมุสาด้วยตนเอง

    ๒. อาณัตติกะ ใช้ให้คนอื่นมุสา

    ๓. นิสสัคคิยะ เขียนเรื่องที่ไม่จริงแล้วทิ้งไปให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น ทิ้งจดหมายหรือการโฆษณา

    ๔. เขียนเรื่องที่ไม่จริง แล้วปิดประกาศไว้ หรือจารึกไว้ หรือพิมพ์เป็นหนังสือขึ้น หรืออัดเสียงไว้



    มุสาวาทที่เป็นศีลวิบัติ และมุสาวาทที่สำเร็จเป็นกรรมบท

    ในองค์ประกอบการมุสาวาททั้งสี่ข้อนั้น ถ้าผู้ฟังเชื่อตามเรื่องไม่จริงนั้นก็เป็นอันว่าล่วงกรรมบท ถ้าผู้ฟังไม่เชื่อ ก็ไม่ล่วงกรรมบท เป็นเพียงศีลวิบัติเท่านั้น


    กรรมปถมุสาวาท คือ มุสาวาทที่ล่วงกรรมบทนั้น แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ


    ๑. ชนิดที่นำไปสู่อบายได้
    ๒. ชนิดที่ไม่นำไปสู่อบาย


    ชนิดที่นำไปสู่อบายได้นั้น ต้องเป็นมุสาวาทที่ทำให้ผู้หลงเชื่อนั้นเกิดความเสียหาย แต่ถ้าผู้ที่เชื่อไม่ได้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด มุสาวาทชนิดนี้ก็ไม่นำไปสู่อบาย เช่น การมุสาวาทของอำมาตย์ผู้หนึ่งต่อพระราชา เพื่อรักษาศรัทธาของพระราชาไว้ และเพื่อรักษาชีวิตของชายผู้หนึ่งไว้ ดังมีเรื่องว่า


    สามีภรรยาคู่หนึ่ง เป็นคนยากจน อาศัยอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง ภรรยานั้นมีครรภ์ และนางแพ้ท้องอยากกินอาหารที่เป็นของเสวยในวัง จึงได้อ้อนวอนให้สามีออกไปหามาให้ และถ้านางไม่ได้กินอาหารนั้นแล้ว ชีวิตของนางก็ไม่อาจเป็นอยู่ต่อไปได้

    ด้วยความที่สามีรักและสงสารภรรยาเกรงว่านางจะตาย จึงได้คิดอุบายปลอมเป็นพระเดินอุ้มบาตรเข้าไปในพระราชวังเพื่อรับบิณฑบาต ด้วยกิริยาอันสำรวม ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เพล พระราชากำลังจะเสวยพระกระยาหารแต่ทอดพระเนตรเห็นพระปลอมรูปนั้นเกิดสำรวมมา บิณฑบาตด้วยอากัปกิริยาน่าเลื่อมใส ก็ทรงเกิดมีพระราชศรัทธาขึ้นด้วยเข้าพระทัยว่า พระองค์นี้คงมิใช่พระธรรมดาสามัญ ต้องเป็นพระที่มีคุณพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงทรงนำอาหารที่กำลังจะเสวยนั้นใส่ลงในบาตรแก่ชายผู้นั้น แล้วรับสั่งให้อำมาตย์ผู้ใกล้ชิดผู้หนึ่งสะกดรอยตามไปเพื่อให้รู้แน่ว่าพระ คุณเจ้ามาจากที่ใด และท่านจะไปที่ใด อำมาตย์จึงได้เดินตามชายผู้นั้นไปโดยที่ไม่ให้ชายนั้นรู้ตัว พอเดินไปถึงศาลาที่พัก ชายดังกล่าวก็เปลื้องจีวรออกกลายเป็นคนธรรมดา แล้วเอาอาหารนั้นให้ภรรยา


    อำมาตย์เห็นแล้วก็รู้ว่าคน ๆ นี้แกล้งหลอกลวงพระราชาว่าเป็นพระ จึงครุ่นคิดว่า ถ้าเรานำเรื่องนี้ไปทูลต่อพระราชาตามความเป็นจริงแล้ว ผลร้ายจะเกิดขึ้นกับบุคคลทั้งสองฝ่าย คือ พระราชาจะทรงเสียศรัทธาที่มีอยู่อย่างแรงกล้า ฝ่ายชายผู้หลอกลวงก็จะได้รับโทษถึงชีวิต ฉะนั้น จำเป็นที่เราต้องพูดเป็นกลาง ๆ เพื่อรักษาประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่าย

    อำมาตย์จึงกลับมาทูลพระราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าเดินตามพระรูปนั้นไปจนออกนอกเมือง เมื่อออกไปนอกเมือง ผ้าเหลือก็หายไปจากสายตาพระพุทธเจ้าข้า


    พระราชาได้ทรงฟังแล้วเกิดความปิติโสมนัสตรัสว่า "แน่แล้ว ๆ พระองค์นี้ต้องเป็นพระอรหันต์ ทานของเราเป็นทานที่ประเสริฐ"

    เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า คำกล่าวซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง ที่ทำให้พระราชาเข้าพระทัยผิด แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย กลับทำให้เกิดประโยชน์อย่างนี้ ผู้กล่าวแม้จะกล่าวมุสา แต่หาได้มีโทษไม่ ทั้งไม่สามารถนำไปสู่อบาย
    มุสาวาทที่มีโทษน้อยและมาก


    มุสาวาทที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้น ถ้าผู้เชื่อมีความเสียหายน้อย มุสาวาทนั้นมีโทษน้อย ถ้าผู้เชื่อมีความเสียหายมาก มุสาวาทนั้นมีโทษมาก

    เช่นผู้ที่เป็นพยานเท็จทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายในทรัพย์สิน หรือต้องได้รับโทษ ชนิดนี้มีโทษมาก ส่วนการพูดกันเล่น เพื่อให้ตลกจัดว่ามีโทษน้อย(แต่ไม่ควรทำ เพราะเป็นความคะนอง ไม่สามารถทำให้สิ้นความโศกความซึมเศร้าได้จริง )



    อนริยโวหาร ๘ อย่าง (คำพูดที่ไม่เป็นของพระอริยะ)

    ๑. บอกว่าเห็น ในสิ่งที่ตนไม่เห็น

    ๒. บอกว่าได้ยิน ในสิ่งที่ตนไม่ได้ยิน

    ๓. บอกว่าพบ ในสิ่งที่ตนไม่พบ

    ๔. บอกว่ารู้ ในสิ่งที่ตนไม่รู้

    ๕. บอกว่าไม่เห็น ในสิ่งที่ตนเห็น

    ๖. บอกว่าไม่ได้ยิน ในสิ่งที่ตนได้ยิน

    ๗. บอกว่าไม่พบ ในสิ่งที่ตนพบ

    ๘. บอกว่าไม่รู้ ในสิ่งที่ตนรู้


    (คำว่า "พบ" ในที่นี้ หมายถึงการได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัส) สำหรับการมุสาที่ทำให้พระสงฆ์ต้องแตกแยกกันนั้น จัดเป็นมุสาวาทมีโทษหนัก(มหาสาวัชชะ)ที่เป็นครุกรรม

    มุสาวาทอันพระโพธิสัตว์ไม่กล่าว


    การกล่าวมุสาวาทที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดและเกิดความเสียหายได้นั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่กล่าว แต่มุสาวาทที่ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟังนั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายยังอาจกล่าวได้ โดยในนวกนิบาต หริตจชาดก แสดงว่า


    "ในอกุศลกรรมบถบางอย่างคือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ดื่มสุราเมรัย เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระโพธิสัตว์ ส่วนการกล่าวมุสาชนิดมีเจตนาทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายนั้นย่อมไม่มีแก่ พระโพธิสัตว์เลย"



    มุสาวาททำให้เกิดในอบาย แต่หากไม่เกิดในอบาย จะได้รับผลนั้นในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ คือ

    ๑. พูดไม่ชัด
    ๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ
    ๓. ปากเหม็นมาก
    ๔. ไอตัวร้อนจัด
    ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
    ๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก
    ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
    ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต
    ๙. ถูกใส่ความด้วยเรื่องไม่เป็นจริง


    อานิสงส์การพูดจริง เชื่อถือได้

    มุสาวาทา เวรมณี มีผลเป็นต้นอย่างนี้ คือ ความมีอินทรีย์ผ่องใส ความเป็นผู้พูดวาจาไพเราะสละสลวย ความมีฟันเรียงเรียบและสะอาด ความไม่อ้วนเกินไป ความไม่ผอมเกินไป ความไม่เตี้ยเกินไป ความไม่สูงเกินไป ความมีสัมผัสสบาย ความมีปากมีกลิ่นดังดอกอุบล ความมีคนใกล้ชิดเชื่อฟังดี ความมีวาจาที่เชื่อถือได้ ความมีลิ้นอ่อนแดงบางเสมือนดอกโกมลและอุบล ความไม่ฟุ้งซ่าน ความไม่คลอนแคลน.
    ลองตรองดูเถิดครับว่าใครจะลงไปที่ไหน
     
  2. 3303

    3303 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +1,284
    มุสา เป็นโทษที่ทำง่ายที่สุดจริงๆ
     
  3. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    นรก ขุมที่ 4 โรรุวนรก

    เป็นสถานที่สำหรับพวกชอบพูดโกหก พูดคำหยาบ พูด ส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ
    ตายแล้วก็ต้องไป ตกนรกขุมที่ 4 ชื่อว่า โรรุวนรก
    [​IMG]
     
  4. lek_awapa

    lek_awapa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    380
    ค่าพลัง:
    +1,044
    น่ากลัวสุดๆๆๆๆ
     
  5. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,438
    น่ากัวจังค่ะ
     
  6. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    มีใครตั้งแต่เกิดไม่เคยโกหกมั้งน้า...ใครไม่เคยฆ่าสัตว์มั่งน้า...ใครไม่เคยเอาของคนอื่นไปโดยไม่บอกบ้างน้า...แล้วแบบนี้ใครกันน้าที่จะไม่ตกนรกเลย น่าคิดๆ
     
  7. พญาไท010

    พญาไท010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2010
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +281
    น่ากลัวจังเลย
     
  8. นาคธันดร

    นาคธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2010
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +157
    มุสามันบาปครับ แต่ว่าศีลข้อนี้รักษาได้ยากจริง ๆ :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...