หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ / พระอนุรุทธเถระ l เอตทัคคะผู้มีทิพยจักษุญาณ ปฐมเหคุผ้าป่า-บังสกุล

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    lp-sama.jpg
    ประวัติหลวงปู่ซามา อาจุตฺโต
    วัดป่าอัมพวัน อำเภอเมือง จังหวัดเลย
    ข้อมูลจาก http://www.thavorn.net/techer/teacher/teacher4.htm
    หลวงปู่ซามา ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความเชื่อในตัวเอง และรับฟังครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนนั้นด้วยความศรัทธายิ่งครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเคยได้อยู่ใกล้ชิดปฏิบัติธรรมอยู่เสมอๆ เช่น...หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ศรีจันทร์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่คำดีการที่หลวงปู่ออกติดตามหลวงปู่มั่นไปทางภาคเหนือนั้น ก็เพื่อหวังธรรมเทศนาและอุบายธรรมจากท่านเท่านั้น โดยคิดว่า “ถ้าพบและได้รับอุบายธรรมแล้วจะปฏิบัติตามนั้น แม้ไม่ได้ธรรมที่ตนปฏิบัติก็ยอมตาย” ก่อนจะได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านมีโอกาสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ถึง ๔ พรรษา

    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต เกิดวันอาทิตย์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ ณ บ้านดอนแขม ต.บางคำ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่นบิดา-มารดาชื่อนายลุย และนางบุญ นามสกุล สินทอน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ใน จำนวน ๘ คน
    บิดามารดามีอาชีพทำนา ท่านอยู่ช่วยบิดาทำงานท้องนาอยู่จนเป็นหนุ่มใหญ่ จึงได้บวชเป็นพระในครั้งแรก ต่อมาได้ลาสึกออกไปช่วยบิดามารดาทำงาน นา-ไร่ต่อไปอีก เพื่อทดแทนบุญคุณท่าน ครั้นหมดภาระหน้าที่ของตน เพราะได้ทำงานหาเงินพอที่บิดามารดาไม่ลำบากแล้ว ท่านก็ได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดข้างๆ บ้าน คราวนี้อยู่ได้ถึง ๔ พรรษา แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย
    สมัยนั้นการควบคุมยังไม่ทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้พระสงฆ์หย่อนยานทางพระธรรมวินัยมาก คือพระธรรมวินัยสอนอย่างหนึ่ง แต่ผู้บวชปฏิบัติตนไปอีกอย่างหนึ่ง ครั้งแรกได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ว่าเป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากและท่านก็เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ท่านหลวงปู่ซามา จึงอยากฝากตัวเป็นศิษย์ แต่หลวงปู่ซามา มีโอกาสดี ได้เข้านมัสการท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้รับฟังพระธรรมเทศนาจากท่าน ก็เข้าใจว่า “บัดนี้เราได้มาพบพระดีมีวินัยชอบแล้ว” ท่านจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ แต่มีเหตุขัดข้องในเรื่องนิกายอยู่ ท่านจึงต้องให้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์องค์เดิม ก็ได้รับอนุญาตด้วยความเต็มใจ พร้อมกับอวยพรให้มีดวงตาเห็นธรรม
    หลวงปู่ซามา จึงได้มาแปรญัตติใหม่ เป็นพระธรรมยุตนิกาย ที่วัดบ้านเต่าชัยชุมพล อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยมีท่านพระครูพิศาล (ศรีจันทร์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หล้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อาจุตฺโต”
    เมื่อแปรนิกายแล้ว เท่ากับ เป็นพระบวชใหม่ ท่านหลวงปู่ซามาได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จนเกิดสมาธิขั้น “ฌาน” และได้ติดตามเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ขณะนี้ท่านได้สมาธิแล้ว จึงรีบเร่งการภาวนาเดินจงกรม ตลอดวันตลอดเวลา บางวันอดอาหารเสียเพราะเสียดายเวลาการปฏิบัติธรรม
    ต่อมาได้ติดตาม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ไปทางเหนือ และได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่ตื้อ อีก ๑ พรรษา หลวงปู่ซามา ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่คำดี ปภาโส นานถึง ๑๐ พรรษา เพราะว่าท่านเคยพูดว่า “ได้พระอาจารย์ที่วิเศษจึงอยู่นานหน่อย”
    การปฏิบัติธรรมความดีบริสุทธิ์นั้น หลวงปู่ซามาถือว่า... “เป็นกำไรของจิตใจเรา จะได้หมดทุกข์เสียที”
    ท่านเคยได้ร่วมคณะจากพระอาจารย์ใหญ่หลายองค์ ไปเป็นธรรมทูตขอนิมนต์หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ให้กลับมาอยู่ในจังหวัดเลย แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะหลวงปู่แหวนไม่ยอมกลับ ขออยู่บนดอยแม่ปั๋งดังเดิม
    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นเดียวกันกับ พระอาจารย์กว่า
    หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต ท่านเคยเดินธุดงค์ไปจนถึงประเทศลาว และได้ไปรับข้ออรรถธรรมทางใจอีกเป็นอันมาก ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญท่าน เดินธุดงคกรรมฐานไปในป่าเขาดงเสืออยู่ตลอดเวลา

    การที่ท่านได้สละกายและใจออกปฏิบัติธรรมกรรมฐานนี้ เป็นความสมัครใจของท่าน เพราะในครั้งแรกที่ได้มีโอกาสพบเห็นพระธุดงคกรรมฐาน คือ พระอาจารย์สิงห์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่อ่อน หลวงปู่เทสก์ และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ครั้นเมื่อได้ฟังธรรมะปฏิบัติ ก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านได้ออกเดินธุดงค์ ไปตามป่าเขา เพื่อแสวงหาวิโมกขธรรมเกือบทั่วประเทศไทย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2021
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    (ต่อ)
    หลวงปู่ซามา ได้ไปผนึกกำลังออกเผยแพร่ธรรมะร่วมกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ยังภาคใต้ แม้จะเกิดอุปสรรคต่างๆ นานา ท่านก็มิได้ท้อถอย จนสามารถสร้างความนิยมในสายการปฏิบัติ ไม่ว่าท่านจะธุดงค์ไปเผยแพร่ธรรม ณ ที่ใด ชาวบ้าน ป่า นา เขา ต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาท่าน และพากันเศร้าโศกเสียใจ เมื่อท่านเสร็จกิจในการเผยแพร่ธรรม และอำลาจากสถานที่แห่งนั้น แต่ธรรมะที่ได้รับจากท่านก็ยังฝังใจเขาไปนานแสนนาน

    หลวงปู่ซามา เคยเล่าเหตุการณ์ตอนหนึ่งให้ฟังว่า

    “อาตมาเคยใช้กรรมครั้งหนึ่งเกือบตายมาแล้ว คือ รถไปคว่ำ การไปให้รถคว่ำได้นี้มีพระอาจารย์หลายองค์ มีอาจารย์ท่อน เป็นต้น ความสำคัญมั่นหมายไม่ได้อยู่กับตอนรถคว่ำนั้นหรอก เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเชิงขบขันมากกว่า แต่ความสำคัญในทางธรรมะนี้ซี ทำให้อาตมารู้ซึ้งถึงแก่นใจเลยทีเดียว จึงมาแนะนำญาติโยมว่า ปฏิบัติไปเถิดธรรมสมาธินี้ เมื่อใครได้ปฏิบัติแล้ว แม้เมื่อถึงคราววิบัติ ธรรมะก็ช่วยได้ ธรรมะเป็นเกราะแก้วเกราะขวัญของพวกเราเป็นอย่างดียิ่ง เป็นอะไรล่ะ...เป็นพุทธรักษา ธรรมรักษา สังฆรักษา รักษาให้พ้นความตายได้จริงๆ ภูมิธรรมเกิดขึ้นมากในช่วงนั้น ขณะเจ็บอยู่นะ อาตมารู้วิธี ตอนที่เราจะตายควรไปฝากกับใครแล้วพวกโยมก็ควรปฏิบัติบ้างจึงจะรู้ชัดเจนนะ”
    หลวงปู่ซามาได้มาบูรณะซ่อมแซม วัดป่าอัมพวัน ให้ได้รับความเจริญขึ้น เพราะชาวบ้านไร่ม่วงทุกคนต่างก็มีความศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน จึงนิมนต์มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอัมพวันและถือเป็นแหล่งสุดท้ายในชีวิตของ ท่านหลวงปู่ซามา อาจุตฺโต พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแห่งจังหวัดเลยฯ


    bar-red-lotus-small.jpg
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-sarma-hist.htm
    วันที่ 11 เม.ย.2523 เวลา 12.30 น. หลวงปู่ซามาได้มรณภาพอย่างสงบ
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    ผีหัวขาด ลี้ลับป่าสาละวิน

    thamnu onprasert
    Oct 17, 2021

     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    หลวงปู่เว่ยหล่าง พระนิกายเซ็นผู้บรรลุธรรมฉับพลัน// ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    Aug 21, 2021
    หลวงปู่เว่ยหล่าง หรือ พระปรมาจารย์เว่ยหล่าง สังฆปริณายกองค์ที่6 แห่งพุทธศาสนานิกายเซ็น ท่านเกิดที่ประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านเป็นผู้ที่เห็นแจ้งในจิตเดิมแท้ได้อย่างฉับพลันทันใด โดยไม่มีพิธีรีตองใดๆ คำสอนของท่านล้วนลุ่มลึกด้วยเนื้อธรรมที่ใหลเทออกมาจากจิตเดิมแท้ทั้งนั้น วลีเด็ดของท่านคือ "คนสามัญนั่นแหละคือพุทธะ และกิเลสนั่นเองคือโพธิ" ประวัติของท่านโลดโผนพอสมควร กว่าท่านจะได้อุปสมบทเป็นพระก็ต้องผ่านอุปสรรคและอันตรายจากคนใจบาปทั้งพระทั้งฆราวาส ที่ติดตามตัวท่านเพื่อแย่งชิงเอาบาตรและจีวรอันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งสังฆปริณายกที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อสืบทอดมาถึงรุ่นท่าน ท่านจึงถือโอกาสยุติไม่ให้มีการสืบทอดอีกต่อไป ดังนั้นท่านจึงเป็นรุ่นสุดท้ายที่สืบทอดบาตรและจีวร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สืบทอดกันมายาวนานมาก เริ่มตั้งแต่พระมหากัสสปะ พระอานนท์ ต่อๆกันมา จนตกทอดมาที่ประเทศจีน นับปรมาจารย์ตั๊กม้อเป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่1 กระทั่งจนมาถึงท่านเป็นองค์ที่6 องค์สุดท้าย รวมแล้วนับได้ 33 องค์..
    #พระอริยสงฆ์ **ปู่ดอน station
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    ตามรอยท่านเว่ยหล่าง
    พระไพศาล วิสาโล
    ท่านเว่ยหล่างเป็นปรมาจารย์ที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของพุทธศาสนาในประเทศจีน อีกทั้งยังได้รับการยกย่องอย่างมากในญี่ปุ่น เนื่องจากเซนที่สืบทอดมานานนับพันปีในประเทศนั้นไม่ว่าสายไหนก็ล้วนมีท่านเป็นต้นธาร เนื่องจากคำสอนของท่านมุ่งสู่การบรรลุธรรมแบบ “ฉับพลัน” ซึ่งมีลักษณะพิเศษเป็นแบบฉบับของท่านเอง

    ชีวประวัติของท่านน่าสนใจด้วยเหตุผลหลายประการ กล่าวคือ ท่านบรรลุธรรมทั้ง ๆ ที่อ่านหนังสือไม่ออก อีกทั้งได้รับมอบตำแหน่งสังฆปริณายกองค์ที่ ๖ ของนิกาย “ฉาน” ( หรือ “เซน”ในญี่ปุ่น) ทั้ง ๆ ที่ยังเป็นฆราวาสและเป็นแค่คนงานในวัดเท่านั้น กว่าท่านจะได้อุปสมบทก็ผ่านไปอีกหลายปี หลังจากที่ต้องหลบลี้หนีภัยจากฝ่ายตรงข้ามที่อิจฉาท่านเป็นเวลานาน

    ท่านเว่ยหล่างเกิดเมื่อพ.ศ.๑๑๘๑ สมัยราชวงศ์ถัง อันเป็นยุคทองของพุทธศาสนาในจีน ท่านมรณภาพเมื่อพ.ศ. ๑๒๕๖ แม้เวลาจะผ่านไปร่วม ๑,๓๐๐ ปี แต่เรื่องราวของท่านยังเป็นตำนานที่เล่าขานในหมู่ชาวพุทธจีนกระทั่งปัจจุบัน ใช่แต่เท่านั้นสถานที่สำคัญที่เกี่ยวกับประวัติของท่านตั้งแต่กำเนิดจนมรณภาพ ก็ยังมีการอนุรักษ์ไว้ สำหรับคนไทยแล้ว เรื่องแบบนี้ย่อมไม่ธรรมดา เพราะอย่าว่าแต่บุคคลเมื่อพันปีที่แล้วเลย แค่บุคคลเมื่อ ๒๐๐ ปีที่แล้วอย่างหลวงพ่อโต พรหมรังสี บ้านที่ท่านเกิดอยู่ตรงไหน ก็ไม่มีใครรู้

    สถานที่ท่านเว่ยหล่างสมภพและมรณภาพนั้นอยู่ไม่ไกลจากกวางโจว อีกทั้งวัดที่ท่านอุปสมบทก็อยู่ในเมืองกวางโจว ดังนั้นหลังจากเสร็จงานสอนกรรมฐานที่เมืองโฝกัง มณฑลกวางตุ้ง ข้าพเจ้าพร้อมกับกัลยาณมิตรชาวไทยเห็นพ้องต้องกันว่าไม่มีอะไรดีกว่าการไปเยี่ยมเยือนสถานที่เหล่านั้น เป็นการตามรอยท่านและจาริกบุญกลาย ๆ โดยมีคุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ซึ่งมีความรู้รอบเกี่ยวกับปรมาจารย์ท่านนี้ เป็นมัคคุเทศก์

    ตอนที่คุณนริศแนะนำให้ไปเยือนหมู่บ้านที่ท่านเว่ยหล่างเกิดนั้น ในใจคิดว่าเป็นเมืองเล็ก ๆ แบบบ้านนอก แต่ที่ไหนได้ซินซิงเป็นเมืองใหญ่เอาการ (แม้กระนั้นมัคคุเทศก์ชาวจีนก็บอกว่านี้เป็นเมืองเล็ก ๆ ประชากร “แค่” ๔ แสนคนเท่านั้น) จัดว่าเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองหยวินฝูในมณฑลกวางตุ้ง บ้านที่ท่านเกิดนั้นตอนนี้ไม่มีเค้าหลงเหลือแล้ว มีอาคารบ้านเรือนรายล้อมเพราะอยู่กลางเมือง แต่มีวิหารเล็ก ๆ ข้างหน้าเป็นรูปปั้นพระศรีอาริย์ยิ้มต้อนรับอาคันตุกะ ถัดจากนั้นจึงเป็นรูปปั้นของท่านเว่ยหล่างให้คนมาเคารพสักการะ

    ท่านเว่ยหล่างกำพร้าพ่อตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ เมื่อโตขึ้นท่านได้ย้ายบ้านไปอยู่อีกด้านหนึ่งของเมือง ปัจจุบันมีวัดสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ท่าน ชื่อวัดหลงถัน ข้าง ๆ วัดมีซากอาคารที่บ่งบอกว่าเป็นบ้านของท่าน พร้อมทั้งระบุตำแหน่งที่ท่านตำข้าวด้วย บรรยากาศสงบร่มรื่นเพราะอยู่บนเขาแวดล้อมด้วยต้นไม้

    ท่านต้องทำงานเลี้ยงแม่ตั้งแต่เล็ก จึงไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ อาชีพหลักคือผ่าฟืนขาย วันหนึ่งขนฟืนไปส่งให้ลูกค้าที่ร้าน ขณะที่เดินออกมาได้ยินชายผู้หนึ่งกำลังสาธยายวัชรเฉทิกสูตร พอตั้งใจฟัง จิตของท่านก็สว่างโพลง ความสนใจในธรรมเกิดขึ้นแก่ท่านทันที ถามชายผู้นั้นว่าได้เรียนธรรมดังกล่าวจากไหน เมื่อได้รับคำตอบท่านก็ลาแม่ ไปยังวัดนั้นทันทีคือวัดตงซาน มณฑลหูเป่ย ซึ่งเป็นวัดของท่านหงเหริ่น สังฆปริณายกองค์ที่ ๕

    ที่นั่นเองท่านต้องทำงานผ่าฟืนและสีข้าวนานหลายเดือน วันหนึ่งได้ฟังว่าศิษย์อาวุโสของวัดนี้แต่งโศลกว่า “กายนี้อุปมาเหมือนต้นโพธิ์ ใจนี้อุปมาเหมือนกระจกเงาใส จงหมั่นเช็ดหมั่นปัดอยู่เสมอ อย่าให้ฝุ่นละอองจับคลุมได้” ท่านเห็นว่ายังไม่ถูกต้อง จึงแต่งโศลกขึ้นอีกบทหนึ่ง แล้ววานคนช่วยเขียนให้ เป็นโศลกซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประวัติศาสตร์เซน นั่นคือ “ไม่มีต้นโพธิ์ ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว ฝุ่นจะลงจับอะไร” (สำนวนแปลพุทธทาสภิกขุ) ท่านหงเหริ่นเมื่อได้อ่านโศลกนี้ก็รู้ว่าผู้แต่งรู้ธรรมอย่างแจ่มแจ้ง กระจ่างชัดในอนัตตลักษณะ คือรู้ว่า แท้จริงแล้วไม่มี “ตัวกู ของกู” มีแต่ทุกข์ ไม่มีผู้ทุกข์ จึงได้มอบตำแหน่งสังฆปริณายกองค์ที่ ๖ ให้แก่ท่าน ทั้ง ๆ ที่ท่านยังไม่ได้บวช

    เราไม่มีโอกาสไปวัดตงซาน แต่ก็ได้ไปเยือนสถานที่ที่ท่านได้สดับธรรมด้วยความบังเอิญจนบรรลุธรรม ปัจจุบันมีการสร้างวัดจินไถเป็นอนุสรณ์ แต่ปรากฏว่าประตูปิดตาย ห้ามเข้า เนื่องจากโครงสร้างอาคารมีปัญหา อาจเกิดอันตรายได้ พวกเราได้แต่ถ่ายรูปข้างหน้าวัด

    อย่างไรก็ตามทั้งสามจุดนี้ในทัศนะของชาวพุทธจีนมีความสำคัญน้อยกว่าวัดที่ท่านมรณภาพ คือ วัดกั๋วเอิน ซึ่งอยู่ในเมืองเดียวกัน วัดนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีโบราณสถานและโบราณวัตถุหลงเหลือมากมาย แม้ถูกทำลายอย่างหนักในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมเมื่อ ๕๐ ปีก่อน วัดนี้สร้างโดยถังเกาจงฮ่องเต้ ท่านเว่ยหล่างมาพำนักที่นี่เมื่อชรามากแล้ว อยู่ได้เพียงหนึ่งปี ก็มรณภาพ ด้วยอายุ ๗๕ ปี

    วัดนี้มีญาติโยมชาวจีนมาทำบุญกันมิใช่น้อย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย ระหว่างที่เรากำลังชมวัด ก็มีอาม่าคนหนึ่งกวักมือเรียกให้พวกเราไปที่วิหารใหญ่ ไปถึงจึงรู้ว่ากำลังมีการสรงน้ำพระพุทธองค์เนื่องในวันวิสาขบูชา(ตามประเพณีจีน) ผู้คนล้นหลามจนยืนอออยู่นอกวิหาร แต่ทางวัดก็เอื้อเฟื้อให้พวกเราเข้าไปสรงน้ำพระพุทธองค์ได้อย่างสะดวก รวมทั้งได้พบปะท่านเจ้าอาวาสซึ่งอยู่บริเวณนั้นด้วย

    อย่างไรก็ตามวัดเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักน้อยกว่าวัดกวงเซี่ยวในเมืองกวางโจว ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอุปสมบท ว่ากันว่าตอนที่ท่านมาถึงวัดนั้นใหม่ ๆ ได้ฟังการบรรยายธรรมของอาจารย์ใหญ่ท่านหนึ่ง ระหว่างนั้นมีการโต้เถียงในหมู่ศิษย์ของท่านว่า ธงหรือลมกันแน่ที่ไหว เถียงกันไม่จบจนกลายเป็นสองฝักสองฝ่าย ท่านจึงพูดแทรกขึ้นมาว่า “ใจ(ของพวกท่าน)ไหวต่างหาก” อาจารย์ใหญ่ท่านนั้นได้ยินก็รู้ว่าท่านเว่ยหล่างซึ่งตอนนั้นอายุ ๓๘ แล้ว ไม่ใช่คนธรรมดา จึงได้จัดการบวชให้ท่านในเวลาต่อมา จุดเด่นของวัดนี้คือ ต้นโพธิ์ซึ่งสำคัญที่สุดในจีน เนื่องจากเชื่อกันว่าท่านปลงผมใต้ต้นนี้ ใกล้ ๆ กันเป็นเจดีย์ ๗ ชั้นซึ่งเชื่อว่าบรรจุเส้นผมที่ท่านปลงเอาไว้ เนื่องจากวัดนี้อยู่กลางเมืองกวางโจว จึงมีคนมาสักการะท่านเว่ยหล่างมากมาย ทั้งคนแก่และคนหนุ่มสาว

    อีกวัดที่สำคัญ ซึ่งขาดไม่ได้สำหรับการตามรอยท่าน ก็คือ วัดหนานฮว๋า ซึ่งอยู่เมืองเสากวน ห่างจากกวางโจว ๓ ชั่วโมง ท่านได้แสดงธรรมที่วัดนี้อยู่นาน ชาวพุทธจีนในไทยคงคุ้นกับวัดนี้มากที่สุด เพราะเป็นที่ประดิษฐานร่างของท่านที่ไม่เน่าเปื่อย อยู่ในท่านั่งสมาธิ น่าแปลกที่ร่างนี้รอดพ้นจากการทำลายล้างในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมไปได้ ทุกวันนี้ถือเป็นสถานที่จาริกบุญสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชาวจีน วัดนี้มีเนื้อที่กว้างขวาง อยู่ติดภูเขา สงบร่มรื่น ชวนให้นึกถึงบรรยากาศของวัดจีนโบราณ

    เมืองเสากวนยังมีอีกวัดที่สำคัญ คือวัดต้าเจี้ยน ท่านผู้รู้ได้ประมาณว่า เนื้อหาร้อยละ ๖๓ ใน “สูตรของเว่ยหล่าง”นั้นมาจากการเทศนาของท่านที่วัดนี้ ส่วนร้อยละ ๒๗ เป็นงานบรรยายที่วัดหนานฮว๋า ที่เหลือท่านแสดงที่วัดกั๋วเอิน

    อันที่จริงชีวิตและคำสอนของท่านเว่ยหล่างที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ถือว่า “มุมมอง”หนึ่งเท่านั้น ในวงวิชาการมีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับประวัติของท่าน แม้กระทั่งคำสอนของท่านอันลือชื่อของท่านคือ “สูตรของเว่ยหล่าง” ก็ยังไม่เป็นที่ยุติว่าใครเป็นคนเขียน เป็นคำสอนของท่านเว่ยหล่างจริงหรือไม่ และ “ของจริง”นั้นเป็นอย่างไร เพราะคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด ซึ่งค้นพบเมื่อ ๘๐ ปีที่แล้ว มีหลายตอนที่แตกต่างจากฉบับที่แพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะโศลกอันโด่งดังของท่านเว่ยหล่าง ในฉบับที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งค้นพบที่ถ้ำตุนหวง มีถึง ๒โศลก และมีเนื้อความแตกต่างกันในสาระสำคัญเลยทีเดียว ประเด็นเหล่านี้ยกให้เป็นหน้าที่ของผู้รู้ที่จะช่วยกันหาคำตอบ แต่สำหรับผู้ใฝ่ธรรม ความแตกต่างเหล่านั้นไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใดสำหรับการฝึกฝนอบรมจิตตามแนวทางของท่าน(หรือตามคำสอนที่ปรากฏในหนังสือ)
    :- https://www.visalo.org/article/sarakadee255706.htm
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    lpMingdhammasuvanno.jpg
    หลวงพ่อมิ่ง ธัมมสุวัณโณ
    ข้อมูลประวัติ


    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2440 ตรงกับขึน 12 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา พื้นฐานเป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด เป็นบุตรของ นายจร นางวัน โพธิ์จันทร์
    อุปสมบท เดือนพฤษภาคม ปี 2461 ณ พัทธสีมาวัดกก
    มรณภาพ วันที่ 28 ธันวาคม 2518
    รวมสิริอายุ 78 ปี 58 พรรษา


    พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
    พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม
    :- https://www.web-pra.com/amulet/หลวงพ่อมิ่ง-วัดกก
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ ( พระพุทธวิหารโสภณ ) วัดวงษ์ฆ้อง พระนครศรีอยุธยา พระเกจิผู้เก่งกล้าทั้งเรื่องไสยศาสตร์และแพทยศาสตร์

    Posted by Lanpo on Saturday, November 23, 2019

    ภาพและเรื่องโดย..เมธี ไทยนิกร

    1032_002.jpg

    “หลวงพ่ออ่ำ” ที่มีพัดยศ ถ่ายขณะเป็น
    พระราชาคณะที่ “พระพุทธวิหารโสภณ”
    เจ้าอาวาสวัดหน้าพระเมรุ (พระอารามหลวง)
    คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า “ พระนครศรีอยุธยา ” เป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งอุดมไปด้วยพระสงฆ์เรืองวิชามาแต่โบราณกาล เท่าที่พอจะนึกออกบอกได้ในตอนนี้ก็มี อาทิ “ สมเด็จพระวันรัตน์ ” วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของ “ พระนเรศวรฯ ” อย่างมาก หลังจากยุคนั้นก็มี “ พระอาจารย์พรหม ” ( หรือ “ พระพรหมมุนี ” ) วัดปากน้ำประสบ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ “ พระนารายณ์ฯ ” ( และเชื้อพระวงศ์ ) ส่วนอีกองค์ที่ร่วมสมัยได้แก่ “ พระพิมลธรรม ” วัดระฆัง ซึ่งเก่งในทาง “ ยามสามตา ” อย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะในคราวที่ “ พระยาสีหราชเดโช ” ข้าศึกจับแต่สามารถแก้รอดมาได้ ท่านทำนายเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ด้วยกระนั้น

    นอกจากประเภทสามัญชนคนธรรมดา ยังมีพระระดับ “ เจ้าฟ้า ” อยู่อีกบางองค์ที่ทรงคุณวิเศษ จนได้รับการบันทึกไว้ในหน้าประวัตศาสตร์ไทย อย่างเช่น “ เจ้าฟ้าพระกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ” ( โอรส “พระเจ้าท้ายสระ” ) ที่ถูก “ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ” ( โอรส “ พระเจ้าบรมโกศ ” ) ดักฟันในพระราชวังอย่างอุกอาจ แต่กลับเพียงแค่จีวรขาดหาเข้าไม่ ยิ่ง “ เจ้าพระวัดพุทไธฯ ” ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “ เจ้าฟ้าตรัสน้อย ” ( โอรส “ พระเพทราชา ” กับ “ เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ ” ) ด้วยแล้ว ยิ่งเรืองวิชาถึงขนาดกล้ารุดไปปราบโจรจีนที่บุกปล้นพระราชวัง ทั้งที่ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตเพียง “ หนึ่งเดียว ” แท้ๆ แต่พวกโจร “ ห้าร้อย ” กลับเป็นฝ่ายต้องเผ่นหนี


    1032_003.jpg

    “หลวงพ่ออ่ำ” กับ “หลวงพ่อขัน” ถ่ายในงานบำเพ็ญ
    กุศลศพโยมบิดา “หลวงพ่อขัน” ที่วัดนกกระจาบ
    แม้ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ก็กล่าวได้ว่า มี “ พระดีศรีอยุธยา ” อยู่อึดตะปือนัง อย่างเช่น “ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ” วัดพลับ นั่น ก็ต้องถือว่าท่านเป็น “ พระดีศรีอยุธยา ” เพราะเคยจำพรรษาอยู่ วัดท่าหอย ซึ่งเป็นวัดบริวารของ วัดพุทไธศวรรย์ ( นอกจากท่านจะเป็นอาจารย์ของ “ พระพุทธยอดฟ้าฯ ” ยังว่ากันว่า “ พระอินทรรักษา ( เสม ) ” พี่เขย ก็เคยบวชที่วัดนี้ )

    โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 และที่ 6 นั้นแน่นอนว่า มีพระที่เรืองวิชาจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ และหนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ “ หลวงพ่ออ่ำ ” หรือ “ พระพุทธวิหารโสภณ ” แห่งวัดวงษ์ฆ้อง เนื่องจากท่านเป็นพระที่เก่งกล้าเชี่ยวชาญ ทั้งในด้านไสยศาสตร์และแพทยศาสตร์ ขนาดแพทย์แผนปัจจุบันยังศรัทธาเลื่อมใส เพราะทำนายทายทักอาการป่วยต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยไม่ต้องนำตัวคนไข้มาหา แต่สามารถให้ญาติจดชื่อยาไปเจียดจากร้านซินแสได้เลย


    1032_005.jpg

    พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ ซึ่ง “หลวงพ่ออ่ำ”
    เคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ระยะหนึ่ง
    (พ.ศ.2456-พ.ศ.2474)
    สำหรับประวัติสังเขปมีอยู่ว่า ท่านเกิดในตระกูลชาวนา เมื่อปีกุน พ.ศ.2406 ณ บ้านสวนพริก แขวงรอบกรุง เมืองกรุงเก่า ( ปัจจุบันคือ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ) โยมบิดาชื่อ นายหอม ภักดีวงศ์ โยมมารดาชื่อ นางห่อ ภักดีวงศ์ มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 7 คน ประกอบด้วย

    1. นายนิ่ม ภักดีวงศ์
    2. นางเชื่อม สุคันธกุล
    3. หลวงพ่ออ่ำ ภักดีวงศ์
    4. นางปี ( ไม่ทราบนามสกุลใหม่ )
    5. นางขำ ธารีศรี
    6. นายไว ภักดีวงศ์
    7. นายวอน ภักดีวงศ์


    1032_008.jpg

    รูปหล่อ “หลวงพ่ออ่ำ” ซึ่งตั้งอยู่ภายใน
    มณฑปวัดวงษ์ฆ้อง (ภาพรูปหล่อสีทอง)

    1032_007.jpg

    มณฑปรูปหล่อ “หลวงพ่ออ่ำ”
    ภายในวัดวงษ์ฆ้อง
    ส่วนเรื่องราวในช่วงเยาว์วัยไม่ปรากฏชัด เพราะเป็นที่รู้ในหมู่ญาติรุ่นหลังๆ เพียงว่า ท่านเข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่กับ “ หลวงพ่อฟัก ” ( หรือ “ พระครูธรรมิกาจารคุณ ” ) วัดธรรมิกราช ( หน้าพระราชวังโบราณ ) ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ปีเศษ และต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนี้กระทั่งบวชพระ ไม่เคยสึกหาลาเพศไปเป็นฆราวาส แต่ไม่อาจยืนยันเกี่ยวเรื่องพระอุปัชฌาย์และคู่สวดตอนที่อุปสมบทได้ เพราะบางกระแสก็ว่า “ หลวงพ่อฟัก ” เป็นอุปัชฌาย์ แต่บางกระแสก็ว่าเป็น “ หลวงพ่อศรี ” วัดประดู่ทรงธรรม จึงทำให้ยังเคลือบแคลงสับสนมาจนบัดนี้ คงมีที่จำได้แม่นยำก็คือฉายาของท่าน ที่ได้รับการขนานเป็นภาษามคธว่า “ อินฺทปญฺโญ ”

    อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะกล่าวประวัติของท่านเป็นลำดับไป ใคร่ขอแทรก ประวัติวัดธรรมิกราช เอาไว้เสียเลยตรงนี้ เนื่องจากเป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญมาแต่ไหนแต่ไร โดยในตำนานได้กล่าวไว้แค่เพียงว่า “ พระยาธรรมิกราช ” โอรสของ “ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ” ได้ทรงสร้างขึ้นใน “ สมัยอโยธยา ” ( ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ) เดิมเรียกกันว่า “ วัดมุขราช ” ส่วนจะสร้างในปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏหลักฐาน ได้แต่อนุมานหรือคาดเดากันว่า น่าจะเป็นสมัยเดียวกับ “ วัดพนัญเชิง ” ซึ่งสร้างโดยพระบิดา เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ “ พระนางสร้อยดอกหมาก ” ที่สิ้นพระชนม์บนเรือสำเภา ซึ่งจอดทอดสมออยู่ในแม่น้ำบริเวณนั้น )

    ต่อมาวัดนี้มีชื่อปรากฏในพงศาวดารว่า “ พระมหาจักรพรรดิ์ ” ( พระสวามี “ พระสุริโยทัย ” ) ได้โปรดฯให้นำ “ พระศรีศิลป์ ” ( โอรส “ พระชัยราชา ” ซึ่งทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่วัดราชประดิษฐาน ) มาควบคุมไว้ที่นี่เพื่อให้ใกล้พระเนตรพระกรรณ เนื่องจาก “ เจ้าเณร ” องค์นั้นซ่องสุมผู้คนเพื่อก่อการกบฏ ครั้นมีอายุครบกำหนดทรงผนวชพระ “ พระเจ้าอา ” ดำริจะทรงรับเป็นเจ้าภาพให้ แต่พระนัดดากลับหลบหนีไปโดยไม่บอกกล่าวร่ำลา และต่อมาได้ยกไพร่พลเข้าปล้นพระราชวังเพื่อหวังยึดอำนาจ แต่พระชะตาขาดถูกยิงด้วยปืนสิ้นพระชนม์คาที่

    วัดนี้มีปูชนียสถานและวัตถุสำคัญคือ พระวิหารหลวง ซึ่ง “ พระเจ้าทรงธรรม ” โปรดฯให้สร้างขึ้น สำหรับสดับพระธรรมเทศนาในวันพระ ทั้งยังสันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นที่ประดิษฐานเศียรพระพุทธรูปหล่อสำริด ( สมัยอู่ทอง ) ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันได้เชิญไปตั้งแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเจ้าสามพระยา ส่วนวิหารพระพุทธไสยาสน์นั้นนัยว่า พระมเหสีของพระองค์ทรงสร้างถวาย หลังจากพระธิดาทรงหายจากอาการประชวรตามที่ทรงบนบาน


    1032_001.jpg

    “หลวงพ่ออ่ำ” ที่ไม่มีพัดยศ ถ่ายในช่วงที่
    กลับมาจำพรรษาบั้นปลายชีวิตที่วัดวงษ์ฆ้อง
    (ซึ่งท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสมาก่อน)
    โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เล่ากันว่า “ พระพุทธเจ้าหลวง ” มักเสด็จฯมาที่วัดนี้อยู่เนืองๆ เนื่องจากทรงศรัทธาเลื่อมใสในวิชาอาคมของ “ หลวงพ่อฟัก ” ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น และมีเกร็ดที่เล่าขานกันสืบมาในหมู่ลูกศิษย์ว่า ในโอกาสที่เสด็จฯมาวัดธรรมิกราชคราวหนึ่ง ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จฯขึ้นไปทอดพระเนตรภายพระวิหารหลวง ซึ่งตั้งอยู่บนโคกสูงกว่าเสนาสนะทั่วไป ขณะที่ทรงพระดำเนินขึ้นบันไดได้ทรงจูงมือ “หลวงพ่อฟัก” ซึ่งชะรอยจะทรงเห็นว่าค่อนข้างชราและเดินเหินไม่สันทัด แต่หลังเสด็จฯออกจากวัดไปได้ครู่เดียวเท่านั้น “ พระญาณไตรโลก ( อาจ ) ” วัดศาลาปูน ซึ่งเป็นเจ้าคณะเมืองกรุงเก่า ได้เรียกให้เข้าไปหาและต่อว่าต่อขานทำนองว่า ท่านละลาบละล้วงจ้วงจาบจับพระกรพระเจ้าแผ่นดิน และได้สั่งลงทัณฑกรรมให้ตักน้ำจากตีนท่ามารดโคนโพธิ์ในวัดจำนวน 100 บาตร โดยเริ่มเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ยังไม่ทันที่ท่านจะปฏิบัติตาม ความได้ทราบถึงพระกรรณ “ พระพุทธเจ้าหลวง ” เสียก่อน จึงได้โปรดฯให้สังฆการีมาแจ้งแก่ “ เจ้าคุณญาณฯ ” ว่า “หลวงพ่อฟัก” หาได้ทำผิดตามที่สั่งลงทัณฑ์ไม่ แต่เป็นพระองค์เป็นฝ่ายจูงมือท่านเอง

    ถามว่า “ หลวงพ่อฟัก ” องค์นี้มีดีอะไร จึงได้เป็นที่โปรดปรานถึงเพียงนั้น ก็ต้องตอบว่าท่านเก่งทางด้านเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ “ นะหน้าทอง ” ที่เพียงเขียน “ ยันต์เฑาะว์ ” ลงบนฝ่ามือแล้วลูบหน้า แม้ตัวท่านเจ้าของตำราเองก็ทำแบบเดียวกัน โดยบุคคลที่รู้ไม่ทันมักเข้าใจว่า ท่านคงจะลูบหน้าเพื่อให้หูตาสว่างเหมือนผู้สูงอายุทั่วๆ ไป ( เนื่องจากอายุเกินวัยที่จะใช้ตำรานี้ จึงจำคาถาที่เคยท่องขึ้นใจไม่ได้ตลอดบท และที่จดเอาไว้ในสมุดก็ยังหาไม่พบ ทั้งๆ ที่ใจจริงอยากบอกให้เป็นวิทยาทาน เพราะอาจจะมีบางท่านที่ยึดภาษิต “ ไม่ลองไม่รู้ ” )

    1032_004.jpg

    ป้ายวัดธรรมิกราช ซึ่ง “หลวงพ่ออ่ำ” เคยพำนักอยู่
    ตั้งแต่สมัยเป็นสามเณรกระทั่งอุปสมบทเป็นพระ
    สำหรับประวัติของท่านนั้น แม้จะค่อนข้างมืดมนคลุมเครืออยู่มาก หากแต่ก็ยังพอมีเค้ามีเงาให้คลำได้บ้าง กล่าวคือว่ากันว่าบ้านโยมบิดา-มารดาอยู่บริเวณปากคลองตะเคียน ( หรือที่เดิมเรียกคลองขุนนครชัย ) และเคยเป็นครองวัดพุทไธศวรรย์อยู่ก่อนหน้า ที่จะได้รับนิมนต์มาครองวัดธรรมิกราช สาเหตุที่ยอมย้ายวัดก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากคุณหญิงท่านหนึ่งซึ่งอุปถัมภ์บำรุงวัดนี้อยู่ กำลังดำเนินเรื่องขอยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงเหมือนเดิม ( โดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาวัดนี้มีพระราชาคณะที่ “ พระธรรมโคดม ” เป็นเจ้าอาวาส )

    อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง “ พระพุทธเจ้าหลวง ” กับ “ หลวงพ่อฟัก ” นอกจากคำบอกเล่าแบบ “ มุขปาฐะ ” ที่สืบทอดต่อกันมาแล้ว ยังพบใน “ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ” (ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2431) ว่า “ เวลาค่ำแล้วพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯออกท้องพระโรง (ในพระราชวังบางปะอิน) เจ้าอธิการฟัก วัดธรรมิกราช เฝ้าถวายป้าน พระราชทานเงิน 1 ชั่ง...” และหลังจากวันนั้นหลักฐานเล่มเดียวกันยังบันทึกไว้ทำนองว่า โปรดฯให้ “เจ้าอธิการฟัก” เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์หลวงที่พระที่นั่งวโรภาศพิมาน ( วันเดียวกับที่ “ พระมหาหนู ” วัดศาลาปูน ( ซึ่งต่อมาเป็น “ พระสุวรรณวิมลศีล ” ) เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์ของพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี )

    และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ในคราวที่พระองค์ทรงตั้ง “หลวงพ่อฟัก” เป็นพระครูสัญญาบัตร ถือเป็นเกียรติประวัติที่ทรงตั้งแบบองค์เดียวโดดๆ โดยไม่มีองค์ใดวัดไหนเข้าไปสมทบด้วย ดังปรากฏอยู่ใน “ ราชกิจจานุเบกษา ” เล่ม 6 แผ่นที่ 43 ( วันที่ 26 มกราคม รัตนโกสินทร์ศก 108 หรือ พ.ศ.2432 ) ความว่า “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกปฏิบัติพระสงฆ์ ที่พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ในการเฉลิมพระราชมณเฑียร ครั้นพระสงฆ์ฉันแล้ว พระราชทานสัญญาบัตรให้เจ้าอธิการฟัก วัดธรรมิกราช แขวงกรุงเก่า เป็นพระครูธรรมิกาจารคุณ ขึ้นคณะกรุงเก่า พระราชทานตาลิปัตพุดตานทองแผ่ลวดเป็นเครื่องยศ กับของนอกจากนี้อีกคือ ผ้าไตร 1 พัดรองโหมด 1 บาตรย่ามสักระหลาด 1 กาน้ำแลกระโถนลายครามสำรับ 1 ร่ม 1 รองเท้า 1 ผ้าขาวพับ 1 เทียนมัด 1 ”

    1032_006.jpg

    ป้ายวัดวงษ์ฆ้อง ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา
    จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่ง “หลวงพ่ออ่ำ”
    เคยเป็นเจ้าอาวาส (ก่อนที่จะย้ายไปเป็น
    ครองวัดธรรมิกราช และวัดหน้าพระเมรุตามลำดับ)
    ก็แหละเข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงหลังจากที่ “หลวงพ่อฟัก” เป็นพระครูสัญญาบัตรแล้วนี่เอง ที่ท่านได้แต่งตั้งฐานานุกรมขึ้น 2 องค์ คือ “ พระสมุห์อ่ำ ” และ “ พระใบฎีกามี ” ( สำหรับองค์หลังนี้ไม่ทราบประวัติแน่ชัด ) ครั้นเจ้าอาวาสวัดวงษ์ฆ้องซึ่งอยู่ในปกครองว่างลง ท่านได้ส่ง “พระสมุห์อ่ำ” ไปครองวัดดังกล่าวสืบมาจนกระทั่ง “ หลวงพ่อฟัก ” ถึงมรณภาพ จึงได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมิกราชสืบต่อตามคำสั่งของคณะสงฆ์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “ พระครูธรรมิกาจารคุณ ” เช่นเดียวกับบูรพาจารย์ ( แต่ไม่พบหลักฐานเหมือนคราวทรงตั้ง “ หลวงพ่อฟัก ” เพียงเป็นคำบอกเล่าของ “ พระครูพิทักษ์พรหมธรรม ” หรือ “ หลวงพ่อหลี ” อดีตเจ้าอาวาสเมื่อ 20 ปีที่แล้ว )

    ย้อนกลับไปที่ “ วัดวงษ์ฆ้อง ” อีกครั้ง ว่ากันว่า “ หลวงพ่ออ่ำ ” หรือ “ พระสมุห์อ่ำ ” ท่านเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่มาครองวัดนี้ โดย “ พระอธิการประสิทธิ์ ธารีศรี ” อายุ 92 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดป้อมรามัญ ( ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว ) ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ได้เข้ามาเป็นลูกศิษย์ “ หลวงลุงอ่ำ ” ( ซึ่งเป็นพี่ชายของมารดา ) ที่ วัดวงษ์ฆ้อง ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ปี โดยมีเด็กวัดอายุรุ่นราวคราวเดียวกันและรับใช้ใกล้ชิดท่านอีกคนหนึ่งซึ่งก็คือ “ เด็กชายแช่ม ” ( หรือที่ต่อมามีบรรดาศักดิ์และยศทหารเป็น “ นายพันตรี หลวงจบกระบวนยุทธ ” บิดาของ “ ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร ” ) ซึ่งทั้งคู่นี้มักต้องติดสอยห้อยตามไป “ งานหลวง ” ทุกนัด โดยผลัดกันถือพัดถือย่ามตามอัธยาศัย โดยเฉพาะพิธีบวงสรวงสังเวยอดีตกษัตริย์ฯ ที่พระราชวังโบราณทั้งในรัชกาลที่ 5 และที่ 6 นั้น พระซึ่งเป็นหลานท่านองค์นี้เล่าว่า น่าตื่นตาตื่นใจอย่างมาก เนื่องจากดาษดื่นไปด้วยเจ้านายขุนนางและราษฎรทั่วไป ทั้งยังมีพลุตะไลไฟพะเนียงและการแสดงต่างๆ ให้ชมในตอนกลางคืนอีกต่างหาก

    ส่วนเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ของท่านนั้น “ พระอธิการประสิทธิ์ ” กล่าวว่า หากใครไม่เห็นกับตาก็ต้องว่าโกหกพกลม อย่างเช่น กรณีที่ท่านสั่งให้เด็กไปตักน้ำมากรอกใส่ขวดโหล 2 ใบ ซึ่งตั้งอยู่ติดกัน จากนั้นท่านได้ใช้มีดโกนตัดใบจากเป็นรูปปลา แล้วทิ้งลงไปในขวดโหลนั้นที่ละใบ พลันก็กลายเป็นปลากัดสีฉูดฉาดว่ายเข้าหากัน ราวกับจะกัดอีกตัวให้ตายไปข้าง แต่ท่านได้สั่งกำชับว่า “ ขอให้ดูแต่ตาอย่าเอานิ้วไปแหย่มันเป็นอันขาด มีเด็กบางคนที่ค่อนข้างทะเล้นบอกกับท่านว่า ปลาดุๆ แบบนี้อยากขอเอาไปกัดที่บ่อน แต่ท่านกลับสั่งสอนว่าเป็นการทรมานสัตว์ และอาจนำไปสู่การพนันขันต่อ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องบาปกรรมและอบายมุขไม่ควรประพฤติ เพราะที่อุตส่าห์ทำให้ดูนี้ก็เพื่อแก้เหงาเท่านั้น ไม่ได้ต้องการยั่วยุให้ผิดศีลผิดธรรมอะไรเลย ”

    ( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1032 ปักษ์แรก เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552 : หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ ( พระพุทธวิหารโสภณ ) วัดวงษ์ฆ้อง พระนครศรีอยุธยา พระเกจิผู้เก่งกล้าทั้งเรื่องไสยศาสตร์และแพทยศาสตร์ ตอน 1 ภาพและเรื่องโดย เมธี ไทยนิกร ราคาปก 50 บาท )
    :- https://lanpothai.blogspot.com/2019/11/blog-post_23.html

     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    ๒๒๗.เทวดากตัญญู ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Oct 19, 2021
    พระภิกษุหนุ่มจากเมืองไทย เดินธุดงค์ไปถึงดอยเขตเมืองปางยาง เทวดากตัญญูตนหนึ่งมาใส่บาตรให้ท่าน.

     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร
    1881-a67c.jpg วัดป่าโรงธรรมสามัคคี
    อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่


    ประวัติย่อหลวงปู่ทองบัว ตันติกโร


    หลวงปู่ทองบัว เกิดวันเสาร์ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ปีระกา ตรงกับวันที่ 11 ก.พ. 2464 เป็นบุตรของ นายปราโมทย์ นางสีดา พุทธสี เกิดที่บ้านหนองผักแว่น อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี มีพี่น้องทั้งหมด 12 คน เป็นชาย 6 หญิง 6 หลวงปู่ เป็นคนที่ 9 เมื่อยังเล็กได้ย้ายตามครอบครัวไปอยู่ จ.ขอนแก่น พออายุได้ 18 ปีเข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุวรรณคงคง อุปสมบท พ.ศ. 2485 มีพระครูพิศาลคณานุกิจ วัดมหาชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “ตนฺติกโร” จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองแวง อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี กระทั่งงานถวายเพลิงศพ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เสร็จแล้ว หลวงปู่ได้ร่วมกับกองทัพธรรมใน 108 รูป มุ่งขึ้นมาภาคเหนือ มาจำพรรษาที่วัดแท่นศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์





    ขณะนั้น คณะศรัทธา อ.สันกำแพงสร้างโรงธรรม ในปี พ.ศ. 2481 นิมนต์พระสายหลวงปู่มั่น มาพำนักและอบรมสมาธิภาวนา อาทิ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่แหวน เมื่อว่างเว้นจากพระเถระ คณะศรัทธา จึงไปนิมนต์หลวงปู่ทองบัว มาจำพรรษาที่สำนักโรงธรรม แล้วได้ซื้อที่ขยายอาณาเขตของสำนัก กระทั่งยกฐานะเป็นวัดโรงธรรมสามัคคี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2506 หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร เป็นเจ้าอาวาสวัดโรงธรรมสามัคคีมาตั้งแต่ต้น โดยได้สร้างพระเจดีย์โพธิปักธิยธรรม เป็นเจดีย์ ที่มีรูปร่างแปลกไปจากที่อื่น มีความหมายถึงการนำไปสู่การตรัสรู้ 37 ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 รวมเป็น โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ฐานเจดีย์เป็นทรงกลม ภายในประกอบห้องสมุด ห้องแสดงศิลปวัตถุ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวันเกิดและพระพุทธรูปต่าง ๆ และชั้นสูงสุด ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ





    เมื่อปี 2549 อายุ 84 ปี ได้ปรารภสร้างวิหารหลังใหญ่สองชั้น แต่การก่อสร้างได้ค้างคามาตลอด ประกอบกับหลวงปู่อาพาธด้วย แต่คณะศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิต และ ฆราวาส ตลอดจนตระกูลชินวัตร ผู้อุปถัมภ์วัด และ พระครูจิตติภัทราภรณ์ เจ้าอาวาสได้ร่วมกันสร้างวิหารสองชั้นจนมีความคืบหน้ามาตามลำดับ กระทั่งหลวงปู่มรณภาพลงในวันวิสาขบูชา





    สำหรับสมณศักดิ์ที่ได้รับ พ.ศ. 2501 เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูวิมลคณาภรณ์ พ.ศ.2535 เป็นพระราชาคณะ ที่พระวิมลธรรมญาณเถร พ.ศ.2547 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชพุทธิมงคล ด้านการบริหารคณะสงฆ์เคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) เกษียณอายุทางพระสังฆาธิการ แล้วจึงได้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดฯ





    เมื่อ เวลา 04.00 น. วันที่ 17 พฤษภาคม 54 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร หรือพระราชพุทธิมงคล อายุ 90 ปี พรรษา 69 ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน(ธรรมยุต) ผู้ก่อตั้งวัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และเป็นพระอาจารย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีรวมถึงคนในตระกูลชินวัตรที่อ.สันกำแพง ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราด้วยอาการอันสงบภายในวัดโรงธรรม โดยมีพระครูจิตติภัทราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดโรงธรรมสามัคคี พระเณรในวัดและบรรดาศิษยานุศิษย์เฝ้าดูแลจนถึงวาระสุดท้าย และศพจะตั้งบำเพ็ญกุศลไว้ที่วัดโรงธรรมสามัคคี



    ทำพิธีรดน้ำศพในวันที่ 18 พ.ค. เวลา 13.00 น.โดยมีข้าราชการชั้นผู้ในจังหวัดเชียงใหม่ และ ลูกศิษย์ที่ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงปู่ มาร่วมพิธีกันในครั้งนี้ คงมากันจนแน่นวัด หลังจากนั้นลูกศิษย์คงจะปิดศพไว้เพื่อกำหนดพระราชทานเพลิงศพต่อไป




    1883-00ec.jpg


    สำหรับหลวงปู่ทองบัว ตันติกโรนั้น เป็นพระเกจิอาจารย์ดังสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งชาวอ.สันกำแพง โดยเฉพาะคนในตระกูลชินวัตรให้ความเคารพนับถือมาตั้งแต่รุ่นของนายเลิศและนาง ยินดี ชินวัตร บิดาและมารดาของพ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 53 หลวงปู่ทองบัวฯยังได้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ประกอบพิธีทำบุญใหญ่เนื่องในวัน คล้ายวันเกิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยคนในตระกูลชินวัตรเป็นเจ้าภาพและมี สส.พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงภาคเหนือเดินทางมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณลี้ภัยไปอยู่ต่างแดนยังได้โทรศัพท์มาพูดคุยและสนทนาธรรม กับ "หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร" ในหลายโอกาส
    :- https://www.web-pra.com/amulet/หลวงปู่ทองบัว-วัดป่าโรงธรรมสามัคคี
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    หลวงปู่โทน กันตสีโล (พระครูพิศาลสังฆกิจ)
    ศิษย์เอกสำเร็จลุน
    เทพเจ้าแห่งสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง
    วัดบูรพา ต.สะพือ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    โดย สุรสีห์ ภูไท นิตยสารโลกทิพย์ พ.ศ. 2529
    โพสท์ในเวบ ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน โดย คนชอบพระ เมื่อ: 26 ธันวาคม 2554

    bar-1s.jpg


    lp-tone-hist-21.jpg
    ภายหลังจากที่ หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำคูหาสวรรค์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้มรณภาพลงไปแล้ว เสมือนขาดร่มโพธิ์ร่มไทรที่มีใบหนาปกคลุมให้ร่มเย็นไปอีกต้นหนึ่ง


    ดังนั้น ศิษยานุศิษย์และประชาชนพุทธบริษัทต่างก็แสวงหาร่มโพธิ์ร่มไทรต้นใหม่ เพื่อที่จะได้เข้าไปอาศัยร่มเงาให้มีความสุขกายสบายใจเหมือนเช่นที่เคยได้รับมาก่อน
    จนกระทั่งได้มีชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น หันไปกราบนมัสการพระอาจารย์ผู้เฒ่าท่านหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนหน้านั้นไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก เพราะเข้าใจกันเองว่าท่านคงจะเป็นหลวงพ่อหลวงตาธรรมดา เนื่องจากท่านอยู่อย่างสมถะที่วัดบูรพา บ้านสะพือ อย่างเงียบๆ
    แต่ในที่สุดข้อเท็จจริงก็ได้ปรากฏให้เห็น เมื่อชาวบ้านต่างก็พูดถึงท่านอยู่บ่อยๆ ในการปฏิบัติธรรมของท่าน และมีผู้ไปกราบนมัสการท่านมากขึ้นผิดปกติ

    ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้ดั้นด้นไปสืบเสาะและแสวงหาข้อเท็จจริงว่า พระอาจารย์ที่ชาวบ้านเล่าลือและกล่าวขานถึงอยู่เสมอนั้น ท่านเป็นใคร? และมีปฏิปทาสมดังที่ชาวบ้านเขาเล่าลือจริงหรือไม่
    ในที่สุดผู้เขียนก็ได้พบกับพระอาจารย์ผู้เฒ่าผู้มีปฏิปทาสูงล้น และเป็นพระอาจารย์ที่มีวิทยาคมสูง เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมจริงๆ ท่านคือ


    lp-tone-hist-02.jpg
    หลวงปู่โทน กนฺตสีโล
    ชาติกำเนิด
    หลวงปู่โทน นามเดิมชื่อ โทน นามสกุล หิมคุณ เกิดเมื่อเดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันจันทร์ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐
    ท่านมีพี่น้องด้วยกันเพียง ๒ คนเท่านั้น ท่านเป็นคนโต เกิดที่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
    ถึงแม้อายุของท่านจะมากถึง ๘๙ ปีแล้วก็ตาม แต่ความจำต่างๆ ท่านยังจำได้แม่นยำ ซึ่งหาได้ยากยิ่งที่สุดที่ผู้มีอายุมากถึงเพียงนี้จะมีความจำเป็นเลิศเช่นนี้

    ภูมิหลังครั้งเด็ก
    หลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาเล่าให้ฟังถึงในสมัยเป็นเด็กของท่านว่า
    “อาตมาเป็นคนโต บิดาจึงตั้งชื่อให้ว่า โทน ซึ่งที่แรกท่านคงคิดว่าจะมีลูกคนเดียว แต่ต่อมาก็ได้น้องเกิดขึ้นมาอีกคน”
    “สมัยหลวงปู่เป็นเด็ก ได้เรียนหนังสือที่ไหนครับ”
    “ในสมัยนั้นไม่ได้เข้าโรงเรียนหรอก เพราะอยู่บ้านนอกที่ห่างไกลความเจริญมาก วันๆ ก็เลี้ยงควาย ทำนา และหาปูหาปลามารับประทานกันตามมีตามเกิด เพราะย่านนั้นมีแต่ความแห้งแล้งเป็นประจำ มีแต่ป่าแต่เขา
    ถ้าจะเรียนรู้ การอ่าน การเขียนหนังสือ ก็ต้องอาศัยพระเณรที่วัดใกล้บ้านนั่นแหละเป็นผู้สอนให้”
    “หลวงปู่บวชมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ”
    “บวชมาตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปีโน่นแล้วบวชเป็นเณรที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง ไม่ได้ไปบวชที่ไหนหรอก บวชตามประสาบ้านนอก ผ้าสบงจีวรก็ขอเอากับพระในวัด ไม่ได้ซื้อ และท่านก็ให้มาชุดเดียวเท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าวตอบอย่างซื่อๆ

    ได้เรียนรู้เมื่อบวช
    หลวงปู่โทน ท่านเปิดเผยให้ฟังต่อไปอีกว่า
    “ในสมัยนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกหลานของตนได้เข้าบวชเรียนเขียนอ่านกันในวัด เพราะจะได้ร่ำเรียนมีวิชาความรู้ ซึ่งเมื่อสึกออกมาก็จะเป็นผู้ครองเรือนที่ประกอบด้วยศีลธรรม แต่ถ้าไม่สึกหาลาเพศก็จะยิ่งดีใหญ่ เพราะพ่อแม่จะได้ชื่นชมว่าลูกตนมีบุญมีวาสนาได้ห่มผ้าเหลือง เป็นศิษย์ตถาคต พลอยให้พ่อแม่ได้พ้นจากนรกไปด้วย เพราะลูกฉุดดึงขึ้นไปตามความเชื่อถือกันมาแต่โบราณ”
    “หลวงปู่บวชที่วัดไหนครับ”
    “บวชอยู่ที่วัดบูรพา บ้านสะพือนี่แหละ บวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ อายุได้ ๑๕ ปีพอดี”
    “หลวงปู่ได้ศึกษากับใครครับ”
    “บวชแล้วก็ศึกษากับพระอุปัชฌาย์ในเบื้องต้น คือท่านสอนหนังสือที่จารอยู่ในใบลาน ซึ่งเป็นตัวธรรมทั้งนั้น เริ่มเรียนเป็นคำๆ ไป จนท่องขึ้นใจ
    บางที่ใช้ความจำด้วยตาว่าตัวไหนเป็นตัวอะไร มันหงิกๆ งอๆ อย่างไร ก็จำกันเอาไว้ให้ดี แต่จำได้เพียงตัวที่ท่านสอนนะ ตัวอื่นถ้าไม่สอน ก็ยังอ่านไม่ออกเหมือนกัน” หลวงปู่โทนท่านกล่าวอย่างอารมณ์ดี
    จากวันเป็นเดือน การเรียนหนังสือธรรมที่อยู่ตามใบลานก็ค่อยๆ ผ่านสายตาของหลวงปู่โทนเป็นลำดับ เพราะท่านกล่าวว่าท่านเรียนเอาความรู้ให้ได้จริงๆ มิได้หวังเอายศถาบรรดาศักดิ์ หรือหวังเอาชั้นอะไรทั้งนั้น
    ในสมัยบวชเป็นสามเณร หลวงปู่โทนท่านมีความขยันขันแข็ง ในการศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ มาก เพราะที่วัดมีตู้หนังสือเก่าอยู่หลายตู้ ในแต่ละตู้ก็ล้วนแต่เป็นพระคัมภีร์และชาดกต่างๆ ซึ่งบางผูกบางกัณฑ์ก็กล่าวถึงพระเวสสันดร พระสุวรรณสาม พระเจ้าสิบชาติเป็นต้น
    “การเรียนรู้ทำให้หูตาสว่าง มีปัญญาทันคน ไม่หลงงมงาย” หลวงปู่โทนท่านกล่าว

    จากสามเณรเป็นภิกษุ
    หลวงปู่โทน หรือ ท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ ได้เล่าให้ฟังถึงอดีตที่ผ่านมาของท่านต่อไปว่า
    เมื่อเห็นว่าการบวช คือการชำระจิตใจให้หมดจดในกองกิเลสทั้งปวง ทำให้มีจิตใจใฝ่ฝันที่จะไขว่คว้าหาวิชาความรู้ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก อาตมาจึงได้บวชพระกับหลวงปู่สีดา หรือ ท่านพระครูพุทธธรรมวงศาในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง
    หลวงปู่สีดา ที่หลวงปู่โทนกล่าวถึงนี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น เป็นพระนักปฏิบัติที่มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างมากมายทั้งฝั่งลาวและฝั่งไทย
    ชื่อเสียงของหลวงปู่สีดาเป็นที่เลื่องลือไปว่า ท่านมีความสามารถทุกอย่าง ไม่ว่าในทางปฏิบัติและในทางไสยเวท ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ที่ใครๆ ก็นำบุตรหลานมาบวชกับท่านมิได้ขาด
    สำหรับหลวงปู่โทนนั้น ท่านบวชตั้งแต่เป็นสามเณรจนกระทั่งอายุครบบวช ท่านก็อุปสมบทต่อไปเลย โดยไม่ได้สึกออกมาผจญกับทางโลกแม้แต่น้อย


    lp-tone-hist-20.jpg lp-tone-hist-24.jpg

    กับ ๒ พระอาจาย์
    “เมื่อบวชพระแล้ว หลวงปู่ไปที่ไหนบ้างครับ”
    “อาตมาบวชได้หนึ่งพรรษา ก็ได้ไปศึกษาอยู่กับ หลวงปู่แพง ที่วัดสิงหาญ อำเภอตระการพืชผล ศึกษาอยู่กับท่านระยะหนึ่ง จึงได้ไปศึกษากับ อาจารย์ตู๋ วัดขุลุ ซึ่งทั้งสองพระอาจารย์นี้ท่านมีวิชาแก่กล้ามาก เป็นพระนักปฏิบัติเคร่ง”
    หลวงปู่โทน ท่านกล่าวถึงในสมัยที่ไปศึกษาวิชาต่างๆ กับสองพระอาจารย์ว่า
    ไม่ว่า หลวงปู่แพง หรือ อาจารย์ตู๋ ล้วนแล้วแต่เป็นพระผู้ใหญ่ที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิพร้อมสรรพ
    ท่านทั้งสองมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับ หลวงปู่สีดา ผู้เป็นพระอุปัชฌย์ของหลวงปู่โทน แต่ละท่านก็ได้ไปศึกษาหาความรู้กันจากฝั่งลาวมาก่อนทั้งนั้น
    สมัยนั้นการข้ามไปข้ามมายังฝั่งลาวมีความสะดวกสบายอย่างยิ่ง เพียงนั่งเรือข้ามแม่น้ำโขงก็ถึงกันแล้ว
    ใครที่อยากจะไปยังฝั่งเขมรเพื่อศึกษากับพระอาจารย์ทางฝั่งเขมรก็ไปกันได้เช่นกัน ไม่มีใครมาห้าม แต่ส่วนมากพระอาจารย์ทางเขมรก็ชอบออกเดินธุดงค์มายังฝั่งไทยเสมอ จึงได้เจอกันอยู่บ่อยๆ
    เมื่อเจอกันแล้วก็ได้ขอศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะทางด้านปฏิบัติ ใครติดขัดอะไรก็สอบถามกันไป
    ท่านคือตัวแทน...
    หลวงปู่โทน กนฺตสีโล พระอาจารย์ผู้เพิ่งจะค้นพบนี้ ท่านเล่าว่า เมื่อก่อนนี้ท่านอยู่อย่างสงบ ไม่มีใครมารบกวน เพราะอยู่วัดบ้านนอก ไม่มีความเจริญเท่าใดนัก
    แต่ในปัจจุบันนี้ผิดไปมากทีเดียว เนื่องจากเมื่อสิ้นหลวงปู่คำคะนิง แล้ว ญาติโยมได้หันมาหาท่าน

    ศิษย์สำเร็จลุน


    lp-tone-hist-23.jpg
    ผู้เขียนได้กราบเรียนถามท่านถึงเรื่อง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และสำเร็จลุน พระอาจารย์ผู้ล่องหนย่นระยะทางได้ว่า ท่านได้เคยพบปะ หรือศึกษาธรรมอะไรกับท่านทั้งสองมาบ้าง ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้มีเมตตาเล่าให้ฟังว่า


    “หลวงปู่สำเร็จลุนนั้น เป็นพระอาจารย์ของอาตมาเอง เคยได้ไปอยู่ปรนนิบัติและศึกษาธรรมกับท่านมาแล้วที่วัดบ้านเวินไซ ในนครจำปาศักดิ์ฝั่งประเทศลาว

    ท่านสำเร็จลุนเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมสูง มีเมตตตาจิต โอบอ้อมอารีต่อพระเณรผู้เป็นลูกศิษย์เสมือนพ่อปกครองลูก
    ท่านมีวิชาแก่กล้ามาก ไม่ว่าจะไปไหนมาไหนจะย่อแผ่นดิน (ย่นระยะทาง) อยู่เสมอ”
    หลวงปู่โทน ท่านเปิดเผยต่อไปว่า ความจริงแล้วท่านได้มีโอกาสไปปรนนิบัติหลวงปู่สำเร็จลุนตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณรโน่นแล้ว
    เมื่อท่านสำเร็จลุนว่างจากการปฏิบัติ ท่านก็จะเรียกไปบีบแข้งบีบขาให้ท่านอยู่เสมอ พร้อมกันนั้น ท่านก็จะกล่าวอบรมสั่งสอนธรรมะและข้อปฏิบัติให้นำไปปฏิบัติเป็นกิจวัตร
    “สำเร็จลุนท่านสอนทางด้านวิชาอาคมอะไรให้หลวงปู่บ้างครับ” ผู้เขียนเรียนถามท่าน ซึ่งท่านก็กล่าวตอบว่า
    “ก็มีอยู่บ้าง เพราะท่านเก่งทางวิทยาคมเป็นเลิศอยู่แล้ว ไม่ว่าวิชาไหนท่านรู้หมด จะเรียนวิชาอะไร ก็เรียนได้ ถ้ามีความขยันในการเรียน โดยท่านจะสอนให้กับทุกคน ไม่ปิดบังอย่างใดทั้งสิ้น”
    “หลวงปู่ได้วิชาอะไรจากสำเร็จลุนบ้างครับ”
    “วิชาหรือ ก็ได้ในแนวทางปฏิบัตินี่แหละ ถ้าเราปฏิบัติดี มีศีลธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรมความดี อย่าให้บกพร่อง ของดีก็อยู่กับเรา” หลวงปู่ท่านกล่าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2021
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    (ต่อ)
    เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม


    lp-tone-hist-05.jpg
    ความจริงแล้ว หลวงปู่โทน ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากสำเร็จลุนมามาก แต่ท่านไม่ยอมเปิดเผยให้ฟังโดยละเอียด เพราะท่านกล่าวว่า จะเป็นการอวดอุตริมนุสสธรรม จะทำให้ครูบาอาจารย์ท่านเสีย เพราะท่านไม่เคยโอ้อวดใคร
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนักปฏิบัติอย่างท่านนั้น เมื่อมีใครไต่ถามอย่างไร ท่านก็จะตอบอย่างนั้น ตอบอย่างสั้นๆ ไม่นอกเรื่องและไม่พูดมาก ซึ่งผู้ที่ไม่รู้ความจริงก็อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าท่านถือตัวหรือหยิ่ง พบยาก อะไรทำนองนี้
    แต่ความจริงแล้ว พระนักปฏิบัติอย่างหลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาธรรมและคุณธรรมสูงมาก เป็นผู้ให้ตลอด ไม่เคยเรียกร้องเอาอะไรจากใคร
    เมื่อถามถึงเรื่องสำคัญในการศึกษาเล่าเรียนของท่าน ท่านมักจะกล่าวว่า
    “อย่าไปพูดถึงเลย เพราะจะทำให้ครูบาอาจารย์ท่านตำหนิเอา”
    คำพูดของหลวงปู่ทุกคำ ท่านจะกล่าวยกย่องครูบาอาจารย์ของท่านอยู่ตลอดเวลา และท่านมีความเคารพในครูบาอาจารย์อยู่เสมอ

    พบหลวงปู่มั่น

    lp-mun.jpg
    หลวงปู่โทน ท่านเล่าว่า สำหรับ หลวงปู่มั่นนั้น ท่านได้พบกันในระหว่างออกเดินธุดงค์ป่าแห่งหนึ่ง เขตตระการพืชผล
    “หลวงปู่มั่นท่านสอนธรรมะอะไรให้หลวงปู่บ้างครับ”
    “ไม่ได้สอนอะไรให้ เพราะต่างคนก็ต่างออกไปหาความสงบกันในป่า และไปคนละสาย คือไปคนละทางกัน แต่ก็ได้อยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านมาร่วมเดือนในป่าแห่งหนึ่ง”
    หลวงปู่โทน ท่านเล่าถึงเมื่อคราวที่ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น ท่านก็มีความเคารพเลื่อมใสในตัวหลวงปู่มั่นเช่นกัน โดยท่านกล่าวว่า
    “ถึงแม้อาตมาไม่ได้ติดสอยห้อยตามหลวงปู่มั่นมาตั้งแต่แรก แต่เมื่อได้มาพบกับท่านก็มีความนับถือท่าน เพราะท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่ถือเคร่งมาก”
    หลวงปู่โทนเล่าว่า หลวงปู่มั่นเคยสอบถามท่านถึงเรื่องการปฏิบัติอยู่เสมอ และบางครั้งท่านก็ได้ชี้แนะแนวทางให้ด้วย
    แต่เมื่อติดขัดจริงๆ ก็ให้ไปเรียนถามสำเร็จลุน ซึ่งหลวงปู่มั่นมีความเคารพนับถือท่านอยู่มาก

    ล้วนเป็นศิษย์อาจารย์ดัง
    หลวงปู่โทนเล่าว่า ความจริงแล้วก่อนที่ท่านจะเข้ามาบวชเป็นสามเณรนั้น ท่านได้เรียนวิชามูลกัจจายน์กับ พระอาจารย์หนู ที่วัดบ้านเกิดของท่านมาก่อนจนกระทั่งเรียนจบ เพาะในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน ใครอยากจะเรียนก็ไปเรียนกับพระที่วัด
    “อาตมาเป็นเด็กวัดไปด้วย เรียนไปด้วย จนได้วิชามูล แต่ไม่มีชั้นอย่างเช่นทุกวันนี้ ที่มี ป.๑ ป.๒ ป.๓ อะไรทำนองนี้”
    ส่วนครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่โทนได้ไปศึกษาอยู่ด้วยนั้น ท่านเล่าว่ามีอยู่มากมาย เช่นอาจารย์ตู๋ วัดบ้านขุลุ อาจารย์แพง วัดสิงหาญ สำเร็จตัน และหลวงปู่สีดา เป็นต้น

    ธุดงค์ไปภูโล้น (ที่ถูกคือ ภูหล่น)
    หลวงปู่โทนเล่าว่า ในสมัยนั้นท่านจะออกเดินธุดงค์อยู่ตลอดเวลาไม่อยู่เป็นที่ เพราะครูบาอาจารย์ท่านอบรมสั่งสอยมาอย่างนั้น ก็ต้องปฏิบัติตามท่านสอน ต่อมาท่านได้ธุดงค์ไปถึงภูโล้น ได้พบกับหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้อยู่ปฏิบัติธรรมได้นานถึงหนึ่งเดือน


    lp-tone-hist-27.jpg [/LEFT]
    ความผูกพันระหว่างหลวงปู่โทน และสำเร็จตันนั้น (น่าจะหมายถึงหลวงปู่มั่น) หลวงปู่โทนกล่าวว่า เป็นความผูกพันที่ลึกซึ้งอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากในสมัยที่ท่านออกเดินธุดงค์ไปพบกันที่ภูโล้น (ที่ถูกคือ ภูหล่น) ในเขตอำเภอโขงเจียม และอำเภอศรีเชียงใหม่ (ที่ถูกคือ อ.ศรีเมืองใหม่) นั้น ท่านเล่าว่า
    “อาตมานั่งภาวนาห่างจากหลวงปู่มั่นเพียง ๕๐ เมตร เวลามีสัตว์ป่ามาก็รู้กัน และการขบฉันก็ฉันข้าวโพดในเวลาหิวในตอนเช้าเหมือนกัน
    ส่วนการถือว่าท่านสายนั้นสายนี้ ไม่เคยถือว่าเป็นสายอะไรทั้งสิ้น เพราะถือว่าท่านเป็นพระปฏิบัติเช่นเดียวกัน
    หลวงปู่โทนท่านให้ข้อคิดในการปฏิบัติธรรมว่า “เราได้เข้าไปสู่ถนนสายนี้แล้ว เป็นถนนที่ฆ่ากิเลสตายแล้ว และไม่มีความดีใจเสียใจอะไร แม้จะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม”

    ต้องอดทนและอดกลั้น
    หลวงปู่โทน ท่านได้เล่าถึงชีวิตของการออกเดินธุดงค์ของท่านในช่วงหนึ่งว่า ไม่ว่าจะเป็นการขบฉัน หรือการปฏิบัติ จะต้องมีขันติ คือความอดทนให้มากที่สุด เพราะในป่าบางแห่งไม่ได้ฉันน้ำเลยเป็นเวลาถึง ๙ วันก็ยังมี
    เคยออกเดินธุดงค์ไปด้วยกัน ครั้งหนึ่งถึง ๑๑ รูป บางรูปฉันเอกา (ฉันมื้อเดียว) ได้เพียง ๙ วันก็อดทนไม่ได้ ต้องขอกลับออกมาก่อน บางรูปก็อดทนได้ ๑๕ วันก็ทนไม่ไหว ก็ขอกลับ เพราะทนต่อความลำบากไม่ไหว
    บางครั้งได้ฉันแต่น้ำถึง ๔ วันก็ยังเคยมี เพราะไม่พบหมู่บ้านของชาวบ้านเลย แต่ถ้าพบเขาก็จะถวายข้าวโพด ให้พอประทังความหิวไปวันๆ เท่านั้น
    หลวงปู่โทนเล่าว่า สำเร็จลุน ท่านได้เทศนาสั่งสอนอยู่เสมอถึงเรื่องการมีขันติ คือความอดทน อดกลั้นไม่ให้ติดในลาภ ให้มุ่งสู่ป่า เพื่อไปฆ่ากิเลสอันหมักหมมอยู่ในตัวส่วนการปฏิบัติธรรมนั้น ท่านให้ยึดคำภาวนาว่า “พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต” เพราะเป็นเครื่องหมายของการสำรวมให้มีความสงบอยู่ภายใน
    “ท่านให้ยึดจิตตัวเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็อย่าให้ทิ้ง พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต”

    มหาเสน่ห์สำเร็จลุน


    lp-tone-hist-07.jpg
    หลวงปู่โทนเล่าว่า ในสมัยที่ปรนนิบัติท่านสำเร็จลุนที่เมืองเวินไซ นครจำปาศักดิ์นั้น ท่านให้ท่องจำพระคาถาอยู่บทหนึ่ง ซึ่งเป็นพระคาถาสั้นๆ ว่า

    “พุทธจิตใจ ธัมมจิตใจ สังฆจิตใจ พุทโธจิต ธัมโมจิต สังโฆจิต”

    เมื่อท่องได้แล้วได้ไปกราบเรียนถามท่านว่าเป็นพระคาถาอะไร และใช้ในทางไหน ซึ่งสำเร็จลุนก็ตอบว่าเป็นคาถามหาเสน่ห์ มีประโยชน์มาก ควรรักษาไว้ให้ดี

    สำหรับวิธีใช้นั้นใช้เสกใส่สีผึ้งเป็นเมตตามหาเสน่ห์ จึงได้เรียนเอาไว้ และเมื่อนำเอามาใช่ในปัจจุบันก็ได้ผลดี แต่ต้องใช้ในทางดี ไม่ใช่ใช้เพื่อทำลายผู้หญิง

    หลวงปู่ท่านเล่าว่า มีอยู่รายหนึ่งชื่อประยงค์ ทำงานอยู่ กรป. อุบลฯ ใช้สีผึ้งไปทาไม่เลือกหน้า และทาผู้หญิง จนผู้หญิงด่าคำหยาบคายที่ถูกลวนลาม แต่ในที่สุดกลับมาชอบ และไปใช้ไม่เลือกจนมีโทษแก่ตัวเองในที่สุด
    หลวงปู่ท่านกล่าวว่า “ขอร้องให้ใช้ในด้านเมตตาก็พอแล้ว ถ้ามั่นใจว่าชอบกันจริง ถ้าหากพร้อมทุกอย่างจึงทา
    เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่มีเสน่ห์อยู่ในตัวอยู่แล้ว ถ้าไม่รับเลี้ยงจะเป็นบาปเป็นกรรมมากกว่าจะได้ประโยชน์”
    หลวงปู่โทน ท่านกล่าวว่า ส่วนมากท่านจะให้สีผึ้งของท่านแก่ผู้ที่ควรให้เท่านั้น โดยเฉพาะหมอลำทางภาคอีสานนั้นไปขอกับท่านเป็นจำนวนมาก และผู้ที่มีอาชีพ ซึ่งต้องติดต่อธุรกิจกับผู้อื่น เช่นค้าขายเป็นต้น
    “ความมีเสน่ห์ของคนไม่ได้อยู่ที่ใบหน้าเท่านั้น ต้องงามด้วยกิริยาวาจาด้วย จึงจะเรียกว่างามพร้อมสรรพ คือ มีบุคลิกอ่อนหวาน มีวาจาไพเราะเป็นต้น”

    กลับคืนวัดบ้านเกิด
    lp-tone-hist-08.jpg
    หลวงปู่โทนเล่าว่าหลังจากออกเดินธุดงค์เพื่อหาความวิเวกจากป่าเขาลำเนาไพรต่างๆ ในเขตจังหวัดอุบลฯ แล้ว ก็ได้เดินทางกลับมายังวัดบูรพา บ้านสะพือ เพื่อมาเข้าพรรษาตามปกติ ซึ่งไม่ว่าจะเดินธุดงค์ไปแห่งหนตำบลใด ก็จะกลับมาเข้าพรรษาที่วัดบ้านเกิดของท่านเสมอ
    เมื่อกลับจากการเดินธุดงค์แล้ว หลวงปู่โทนท่านได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ด้วยการศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติม
    “อาตมาต้องแยกเวลาเรียนคือเวลาหนึ่งทุ่มไปเรียนธรรมบท ส่วนกลางวันก็เรียนนักธรรม ต้องเรียนควบคู่กันไป อาตมาเรียนได้แค่ ป.๓ เท่านั้น เพราะสมัยนั้นมีแค่ ป.๓ ก็ว่าสูงสุดแล้ว เรียกว่าเป็นครูสอนได้แล้ว” หลวงปู่ท่านกล่าว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2021
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    (ต่อ)
    การศึกษาของหลวงปู่โทนนั้น ท่านเล่าว่าต้องศึกษาด้วยการท่องจำทั้งหมด มิใช่อ่านผ่านไปเฉยๆ ฉะนั้นเมื่อท่านศึกษาวิชาอะไร ท่านจึงมีวิชาอย่างมั่นคงและใช้วิชาที่ได้ศึกษามาอย่างได้ผล
    “เมื่อศึกษาจบ เขาก็เอามาเป็นครูสอน โดยหลวงปู่สีดาผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ตั้งเงินเดือนให้เดือนละ ๑๐ บาทเท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าว

    เสี่ยงทายได้พระโทน
    ในสมัยที่หลวงปู่โทนบวชพระได้หนึ่งพรรษานั้น ท่านเล่าว่าได้รับนิมนต์ไปประกอบศาสนกิจ ณ พระอุโบสถวัดป่าใหญ่ร่วมกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่รวมทั้งหมด ๑๓ รูป โดยหลวงปู่โทนท่านนั่งเป็นองค์สุดท้าย
    ระหว่างนั้นได้มีพระสุราษฎร์ภักดี รองเจ้าเมืองอุบลฯ ในสมัยนั้นได้มาทำบุญถวายเครื่องสังฆทาน ซึ่งเป็นอัฐบริขารกองใหญ่และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า
    “ข้าพเจ้าพร้อมด้วยบุตรธิดาได้นำเครื่องสังฆทานอันสมบูรณ์และบริบูรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ขอถวายแด่พระคุณเจ้าผู้วิเศษ ถ้าหากข้าพเจ้าจะมียศถาบรรดาศักดิ์สูงขึ้น ก็ขอให้ถูกพระภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยปฏิปทาและจริยวัตรอันงดงาม และเจริญด้วยธรรมเทอญ”
    พออธิษฐานเสร็จพระสุราษฎร์ภักดีก็ได้ทำสลากให้พระคุณเจ้าทั้ง ๑๓ รูปจับเพื่อเป็นการเสี่ยงทาย คือให้จับสลากได้ใบเดียว ถ้าพระคุณเจ้ารูปใดได้ก็จะถวายให้พระรูปนั้น
    พระภิกษุที่ไปร่วมพิธีในวันนั้นล้วนแต่มีพรรษามากตั้งแต่ ๔๐ พรรษาลงมาจนถึง ๑ พรรษา
    ปรากฏว่าผู้ที่จับสลากเครื่องสังฆทานจากพระสุราษฎร์ภักดีได้ คือ พระภิกษุโทน ผู้มีเพียงหนึ่งพรรษาและนั่งอยู่ปลายแถวสุดนั่นเอง
    ทำให้พระสุราษฎร์ภักดีมีสีหน้าเปลี่ยนไปเล็กน้อย และได้รับการปลอบใจจากภรรยาซึ่งเป็นคนจีนทางภาคกลาง แต่มาอยู่เมืองอุบลฯ นาน ภรรยาของพระสุราษฎร์ภักดีได้มาปลอบขวัญว่า
    “ไม่เป็นไรหรอก คุณพระ ไม่ต้องเสียใจเพราะเรามีเจตนาดีแล้ว เพราะพระองค์นี้จะเป็นผู้รักษาศาสนาให้เจริญสืบต่อไป”
    คุณพระจึงได้หันไปถามพระโทนว่า
    “อยู่ไหน”
    พระโทนก็ตอบไปว่า “อยู่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล”
    คุณพระได้ถามต่อไปว่า “มาเรียนอะไร”
    พระโทนก็เจริญพรว่า “มาเรียนมูลกัจจายน์ ซึ่งขณะนี้ได้เรียนจบแล้ว กำลังเรียน ป.๓ และนักธรรมอยู่”

    เลื่อนชั้นทันตาเห็น
    ในปีต่อมาปรากฏว่า พระสุราษฎร์ภักดีก็ได้รับพระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็น “พระยาปทุมเทพภักดี” ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว
    และจากมูลเหตุดังกล่าวนั้นเอง ทำให้พระสุราษฎร์ภักดีบังเกิดความเคารพศรัทธาในพระโทน ถึงกับอุทานว่า
    “ไม่คิดเลยว่าการได้ทำบุญกุศลกับท่านจะได้รับอานิสงส์ถึงเพียงนี้”
    พูดจบได้ถวายเงินให้พระโทนไป ๕ บาท พร้อมกับกล่าวขอโทษกับท่านที่ได้เข้าใจผิด ซึ่งหลวงปู่ก็ไม่ติดใจอะไร เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ย่อมมีเมตตาธรรมอยู่แล้ว
    “คนเราอยู่ที่วาสนาบารมีที่ได้กระทำมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งการสร้างความดีย่อมได้ผลแห่งความดีเป็นเครื่องตอบแทน เพราะชีวิตเหมือนความฝัน สิ่งสำคัญคือความดี” หลวงปู่ท่านกล่าว

    ตั้งเป็นเจ้าอาวาส


    lp-tone-hist-28.jpg
    ขณะที่หลวงปู่โทนท่านมีอายุพรรษาได้ ๘ พรรษานั้น ได้มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ออกตรวจตราความเป็นปึกแผ่นของพระพุทธศาสนา และท่านได้ไปเห็นสภาพของวัดบูรพาซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ แต่ขาดผู้บริหาร คือไม่มีเจ้าอาวาสรักษาการอยู่ท่านจึงได้ให้หลวงปู่โทนมาเป็นเจ้าอาวาส
    “สมเด็จอ้วนท่านจับให้เป็นเจ้าอาวาสเลย ท่านประทับตราแต่งตั้งให้ไม่ให้ไปไหน ให้อยู่บูรณะวัดเก่าคือวัดบูรพาแห่งนี้ต่อไป”

    วัดบูรพา เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ใด และใครเป็นผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บริเวณวัดในปัจจุบันประมาณ ๘ ไร่เศษ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านสะพือ มีชาวบ้านประมาณ ๑,๐๐๐ หลังคาเรือน
    สันนิษฐานว่าตั้งทีหลังวัดสิงหาญ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านสะพือ เพราะหมู่บ้านแห่งนี้มีอยู่ ๒ วัด เป็นวัดเก่าแก่ทั้งคู่ ซึ่งเชื่อว่าสร้างมาพร้อมกับหมู่บ้านอย่างแน่นอน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดลงไปให้กระจ่างแจ้ง

    สำเร็จลุนมรณภาพ
    หลวงปู่โทนได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบูรพา บ้านสะพือ เป็นองค์ที่ ๒๐ ซึ่งเป็นปีที่สำเร็จลุน เทพเจ้าของชาวไทย-ลาว พระอาจารย์ที่มีวิทยาคมสูงเป็นที่ยอมรับนับถือของหมู่ศิษย์ว่า ท่านมีวิชาตัวเบา และมีความสามารถพิเศษเหาะเหินเดินอากาศได้ พร้อมทั้งย่นระยะทางได้ด้วย ท่านได้ถึงแก่กาลมรณภาพลงที่เวินไซ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
    การมรณภาพของสำเร็จลุนยังความเศร้าโศกเสียใจแก่หมู่ศิษยานุศิษย์ และประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเป็นอย่างยิ่ง

    ศิษย์ร่วมอาจารย์


    lp-tone-hist-10.jpg
    หลวงปู่สำเร็จลุนท่านมีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดของท่านคือ สำเร็จตัน หลวงปู่แพง วัดสิงหาญ พระอาจารย์ตู๋ วัดขุลุ หลวงปู่สีดา (พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน) หลวงปู่มั่น (แม่ทัพธรรมผู้มีศิษย์ทั่วประเทศ) และหลวงปู่โทน กนฺตสีโล

    เมื่อสำเร็จลุนท่านมรณภาพลง คณะศิษย์ของท่านดังกล่าวได้ร่วมกันทำการฌาปนกิจผู้เป็นอาจารย์ของตน ที่บ้านเวินไซ ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้ไปในงานของบรมครูของท่านด้วย

    มรดกสำเร็จลุน
    สำหรับหลวงปู่โทนนั้นนับว่าเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดมาก ทั้งยังได้รับความรักเป็นพิเศษจากสำเร็จลุน ซึ่งจะเห็นได้จาก ก่อนที่ท่านจะมรณภาพนั้น ท่านได้สั่งเอาไว้ว่า
    “ถ้าอาตมามรณภาพไปแล้ว ขอให้เก็บไม้เท้าเอาไว้ให้ดีอย่าให้หาย”
    “ไม้เท้าของสำเร็จลุนมีลักษณะอย่างไรครับ” ผู้เขียนเอ่ยถามหลวงปู่

    lp-tone-hist-29.jpg

    “ลักษณะของไม้เท้าเป็นไม้แก่นที่ปลายเป็นงา”

    “ตอนนี้อยู่กับหลวงปู่หรือเปล่าครับ”
    “ไม่อยู่ เขาขอไปไว้บูชา”
    “ใครขอไปครับ”
    “โยมที่อุบลฯ เจ้าของร้านทองย่งเฮง”
    “ทำไมหลวงปู่ให้เขาไปล่ะครับ ไม่เสียดายหรือ”
    “เขาบอกขอบูชาเอาไว้เพราะป้องกันภัย ประเดี๋ยวเขาก็เอามาคืน”
    หลวงปู่โทนท่านไม่ยินดียินร้ายต่อลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น ท่านมุ่งปฏิบัติธรรมอย่างเดียว แม้ทางคณะสงฆ์จะแต่งตั้งให้ท่าน เป็นเจ้าคณะอำเภอ ท่านก็ได้ปฏิเสธไป เพราะท่านชอบอยู่อย่างเงียบๆ
    “อาตมาไม่มีเวลาที่จะไปทำงานให้คณะสงฆ์เขาหรอก ขออยู่อย่างสงบๆ ดีกว่า เพราะเคยอยู่มาอย่างนี้ถูกกับจริตดี”

    อุบายสอนศิษย์
    หลวงปู่โทนท่านได้เล่าถึงเรื่องสำเร็จตันมาปรึกษาท่านว่าจะขอลาสึก ซึ่งท่านก็ให้กำลังใจว่า
    “อายุปูนนี้แล้วจะสึกไปทำไม สึกไปก็ไม่รู้จะไปทำอะไร ตอนนั้นสำเร็จตันท่านมีอายุร่วม ๓๐-๔๐ แล้ว อาตมาก็ได้ห้ามไม่เห็นดีด้วย”
    ต่อมาความทราบไปถึงหลวงปู่สีดา ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ใหญ่ ท่านก็ชักชวนสำเร็จตันเข้าไปในป่าเพื่อหาความสงบ เป็นการขัดเกลากิเลสให้เบาบางลงไป เพราะในป่าเป็นที่ไม่มีสิ่งเย้ายวนให้เกิดกิเลส มีแต่ธรรมชาติให้ได้เห็น


    “อุบายของพระอุปัชฌาย์ได้ผล เพราะพอออกจากป่า ก็ไม่คิดอยากจะสึก จึงทำให้สำเร็จตันอยู่ครองสมณเพศจนกระทั่งมรณภาพในที่สุด” หลวงปู่โทนท่านกล่าว
    หลวงปู่สีดาท่านมีอุบายแปลกๆ ให้กับบรรดาลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอ เมื่อใครชอบอะไร ท่านก็จะให้เลือกตามจริตของพระรูปนั้นๆ
    เช่น บางองค์ก็ชอบอยู่วัดป่า แต่บางรูปก็ชอบอยู่วัดบ้าน แต่การปฏิบัติก็ให้ยึดถือหลักปฏิบัติของครูบาอาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนมา
    “ใครจะชอบอะไรท่านไม่ว่า แต่อย่าให้ผิดศีลธรรม คือใครจะอยู่วัดหรืออยู่ป่าก็ได้ ขอเพียงให้ปฏิบัติเคร่องอย่างเดียว” หลวงปู่กล่าว

    เห็นว่าเลื่อมใสจึงได้อยู่


    lp-tone-hist-06.jpg
    หลวงปู่โทนเล่าว่า หลวงปู่สีดา ท่านเดินธุดงค์มาจากนครพนมเข้ายโสธร ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นตำบลเล็กๆ อยู่ จนกระทั่งเดินธุดงค์มาถึงจังหวัดอุบลราชธานี และมุ่งไปยังอำเภอตระการพืชผลเพื่อจะข้ามไปฝั่งลาว
    เมื่อมาถึงบ้านสะพือ ชาวบ้านนิมนต์ท่านไว้ให้อยู่จำพรรษา เพราะไม่มีพระเณรอยู่เลย ท่านจึงอยู่ตามคำนิมนต์
    ต่อมาท่านได้เห็นขนบธรรมเนียมของชาวบ้านเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ท่านจึงไม่คิดจะไปอยู่ที่อื่น เพราะชาวบ้านก็เคารพนับถือท่านมาก
    ในที่สุดหลวงปู่สีดาจึงได้ปักหลักอยู่ที่วัดสิงหาญ บ้านสะพือ ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่ที่อยู่ใกล้กับแก่งสะพือ อันเป็นหนองน้ำใหญ่เหมือนกับหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    ที่มาของสะพือ
    หลวงปู่โทนเล่าว่า แก่งสะพือ กับบ้านสะพือนั้นอยู่คนละที่กัน แต่อยู่ในเขตเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงกันมาแต่อดีต
    ในสมัยก่อนนั้นได้มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า สาเหตุที่เรียกพะพือ หรือ สะพือนี้ มีเรื่องเล่าว่า ได้มีพ่อค้าเรือสำเภาจำนวน ๗๐๐ คน ล่องเรือไปตามมหาสมุทร แต่พอล่องเรือไปได้เพียง ๗ วันเท่านั้น เรือสำเภาก็แตก น้ำได้พุ่งขึ้นมาบนเรือ ทำให้พวกพ่อค้าที่อยู่บนเรือต่างก็กลัวความตายกัน ต่างคนต่างก็วุ่นวายไปหมด ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะโกลาหลไปหมด
    บางคนก็ยกมือกราบไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเหลือ บางคนก็กล่าวบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ให้มาช่วยเหลือในยามคับขันเช่นนั้น
    ในจำนวนพ่อค้าทั้ง ๗๐๐ คนนั้น ได้มีอยู่คนหนึ่งซึ่งก่อนที่เขาจะลงเรือล่องมาตามมหาสมุทร เขาได้รับศีล ๕ จากพระสงฆ์ก่อน และได้ตั้งจิตอธิษฐานอย่างแรงกล้าว่าจะขอตั้งตนอยู่ในกรอบของพระไตรสรณคมน์คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
    พูดง่ายๆ ก็คือเขาจะขอยึดเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งทุกลมหายใจ ไม่คิดเป็นอย่างอื่น
    เมื่อเรือสำเภาแตก พ่อค้าผู้มุ่งมั่นอยู่ในศีลธรรม เขาก็ตั้งจิตตั้งใจเจริญภาวนา พิจารณาซึ่งศีลและทานที่เขาได้เคยกระทำมาอย่างไม่สะทกสะท้านและกระวนกระวายใจเหมือนเช่นคนอื่นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2021
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    (ต่อ)
    เหตุเพราะใจเป็นศีล
    ในบรรดาพ่อค้าด้วยกัน เมื่อมองเห็นอากัปกิริยาของพ่อค้าคนนั้นไม่มีความเดือดร้อนอะไรเมื่อภัยมาเช่นนั้น เขาจึงเอ่ยถามไปว่า
    “เป็นเพราะอะไรท่านจึงไม่กลัวความตาย”
    พ่อค้าคนนั้นก็ตอบเพื่อนพ่อค้าด้วยกันว่า
    “เป็นเพราะเรามีจิตใจบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในศีล ๕ ประการ ถึงแม้จะตายไปก็คงจะไปสู่ชั้นเทวโลก ฉะนั้น เราจึงไม่หวั่นต่อภัยที่กำลังเกิดขึ้น”
    พ่อค้าในเรือสำเภาสงสัยจึงได้สอบถามต่อไปอีกว่า
    “ศีล ๕ นั้นเราจะรักษากันอย่างไร ช่วยแนะนำด้วย”
    พ่อค้าผู้มีศีล ๕ ก็ตอบเพื่อนพ่อค้าในเรือสำเภาที่แตกว่า
    “รักษาได้ ถ้าหากตั้งใจจริง”
    พูดจบพ่อค้าผู้มีศีลจึงได้แนะนำให้ทุกคนรับศีลจากเขา และได้จัดคนทั้งหลายเป็น ๗ พวกด้วยกัน คือจัดให้รวมกลุ่มเป็นพวกๆ ละ ๑๐๐ คนคือ
    พวกที่ ๑ เมื่อรับศีล ๕ แล้ว น้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงข้อเท้าเท่านั้น
    พวกที่ ๒ เมื่อได้รับศีล ๕ แล้ว น้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงเข่า
    พวกที่ ๓ เมื่อรับศีล ๕ แล้วน้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงต้นขาเท่านั้น
    พวกที่ ๔ เมื่อรับศีล ๕ แล้วน้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงบั้นเอว
    พวกที่ ๕ เมื่อรับศีล ๕ แล้วน้ำได้ท่วมขึ้นมาเพียงหน้าอก
    พวกที่ ๖ เมื่อรับศีล ๕ แล้วน้ำได้ท่วมขึ้นมาถึงคอ
    พวกที่ ๗ เมื่อรับศีล ๕ จากผู้มีศีลแล้ว น้ำทะเลได้ท่วมสูงขึ้นแค่ปาก
    เมื่อพ่อค้าทั้ง ๗๐๐ คนได้รับศีลแล้ว พ่อค้าผู้มีศีลอยู่ก่อนแล้วก็ตั้งตนเป็นอาจารย์ และได้ประกาศออกไปว่า
    “ศีล ๕ นี้เป็นที่พึ่งของเรา ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะเป็นที่พึ่งแล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งมั่นอยู่ในศีลกันเถิด”
    หลังจากจบคำประกาศแล้วก็ได้พากันจมลงไปยังก้นมหาสมุทรในทันที และเมื่อพวกเขาตายไปแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดอยู่ในชั้นสวรรค์พร้อมกันทั้งหมด
    ทั้งนี้เป็นเพราะอานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ เมื่อใกล้จะถึงเวลาตายเท่านั้น ซึ่งถ้าเราได้ปฏิบัติกันก่อนก็จะยิ่งดีใหญ่

    แก่งสะพือแดนศักดิ์สิทธิ์


    lp-tone-hist-30.jpg
    หลวงปู่โทนท่านเล่าต่อไปว่า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ก้ได้มีผู้เชื่อถือว่า เหล่าวิญญาณของพวกพ่อค้าวาณิชในเรือสำเภาที่ล่มนั้นได้เกิดเป็นเทวดาและมีชื่อว่า สตุลปกายิก ทั้งหมด และได้พร้อมกันมาปกปักรักษาสถานที่แห่งนั้นอยู่
    ด้วยเหตุนี้ตามความเชื่อกันมาว่าที่อยู่ของเหล่าเทพยดาสตุลปกายิก ทั้งอาจารย์และศิษย์คือ แก่งสะพือ นั่นเอง
    ส่วนผู้เป็นหัวหน้าก็คือ พะพือ องค์ศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณแก่งสะพือในทุกวันนี้
    แก่งสะพือจึงเป็นทั้งสถานที่น่าท่องเที่ยวเพราะมีทิวทัศน์อันสวยงามรอบๆ แก่ง ทั้งยังมีศิลาแลงที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ด้วย
    ในทุกๆ ปี จะมีงานประจำปีขึ้นที่แก่งสะพือ ผู้ที่จะเดินทางด้วยเรือ และพวกหาปลาในแม่น้ำมูลจะพากันมาขอขมาและกราบสักการะมิได้ขาด เพราะมีความเคารพท่านพะพือมากที่สุด
    ต่อมาไม่ว่าชาวบ้านสะพือ หรือในที่ไกลๆ ก็พากันมากราบไหว้พะพือ ซึ่งประดิษฐานอยู่ตรงกึ่งกลางแก่งมิได้ขาด
    ทั้งนี้เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของพะพือ ที่ใครๆ ก็มีความเคารพกราบไหว้ แต่ก็เน้นการปฏิบัติบูชา คือ ท่านให้รักษาศีลอย่างเคร่งครัดเท่านั้น

    กลับเห็นว่าบ้า
    หลวงปู่โทนท่านได้เล่าถึงอดีตในสมัยที่ท่านเป็นพระหนุ่มๆ ว่า
    “อาตมาชอบฉันผักเป็นประจำ จนใครๆ ก็นึกว่าเป็นบ้า เพราะพระองค์อื่นๆ มีแต่ฉันสองเวลา แต่อาตมาฉันมื้อเดียวและฉันผักด้วย
    ความจริงแล้วการฉันผักเป็นสิ่งดี เพราะไม่เป็นการเบียดเบียนหมู่สัตว์เล็กสัตว์น้อย
    จริงอยู่สัตว์บางชนิดเป็นอาหารของมนุษย์ แต่ควรยกเว้นสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย บ้าง เพราะสัตว์ดังกล่าวมีพระคุณต่อมนุษย์ มันไม่เคยเรียกร้องเอาสิ่งของจากมนุษย์เลย มีแต่มนุษย์เรียกร้องเอาจากมันทุกอย่าง เราจึงควรงดรับประทานเนื้อสัตว์จำพวกนี้เสีย
    หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ถ้าท่านรู้ว่าหมู่บ้านใดจัดงานบุญแล้ว ฆ่าควายท่านจะไม่ไปเลย ไม่ว่างานนั้นจะยิ่งใหญ่และสำคัญแค่ไหน”
    หลวงปู่โทนท่านถึงแม้อายุจะมากแล้วก็ตาม แต่ความจำของท่านดีเลิศแท้ ซึ่งจะเห็นได้จาก ไม่ว่าใครจะเคยไปกราบท่านมาแล้ว เมื่อไปในครั้งที่สอง ท่านจะทักทายได้แม่นยำทันที
    “อาตมาพอจำได้เพราะญาติโยมมาหาไม่มากนัก เพราะวัดของอาตมาอยู่ไกล อยู่บ้านนอก ไม่เหมือนอยู่ในที่เจริญมีผู้คนพลุกพล่าน ก็คงจะจำไม่ได้หมดเป็นแน่” หลวงปู่กล่าว


    ธรรมะบนต้นไม้


    lp-tone-hist-16.jpg
    เมื่อก้าวเข้าไปยังบริเวณวัดบูรพา อันเป็นสถานที่จำพรรษาของหลวงปู่โทน ก็จะพบกับคติธรรมต่างๆ ที่หลวงปู่โทนท่านได้ให้พระลูกศิษย์เขียนติดเอาไว้ เพื่อเป็นการเตือนสติของผู้ไปกราบท่านทุกคน
    อย่างเช่นต้นตาลปากทางเข้าวัด ท่านก็เขียนธรรมะติดเอาไว้ว่า
    “นอนนานงานน้อย ใช้บ่อยเงินหมด เงินมีหน้าสด เงินหมดหน้าแห้ง”
    “เกิดเป็นคน ต้องคนให้ทั่ว ปากไม่ล้น ก้นไม่รั่ว ชั่วไม่เอา เมาไม่มี นี่คือคน”
    “แก้วที่ว่าใส ยังไม่เท่าใจอันบริสุทธิ์”
    “เกิดเป็นคนอย่าจนซึ่งน้ำใจ”
    และจากต้นมะม่วง ต้นขนุน ตลอดจนต้นมะพร้าว มะไฟ ก็มีป้ายคติธรรมของหลวงปู่ติดเอาไว้ทุกต้น เช่น

    “ไวปากเสียศีล ไวมือไวตีนตกต้นไม้ เว้นชั่วทำความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส คือหัวใจของพระพุทธศาสนา”
    “คบคนพาลมักจะล้มทับตน คบบัณฑิตให้ผลจนวันตาย”
    “มักง่ายได้ยาก ลำบากได้ดี”


    lp-tone-hist-17.jpg
    “อย่าฟังความเขา อย่าเอาความง่าย”

    “การบูชาคนดี ย่อมให้สำเร็จประโยชน์ บูชาคนโฉดย่อมพาให้ท่านฉิบหาย”
    “รกคนดีกว่ารกหญ้า รกคนบ้า รกหญ้าดีกว่ารกคน”
    “อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา”
    “ชีวิตคือความฝัน สิ่งสำคัญคือความดี”
    ธรรมะบนต้นไม้ในบริเวณวัดบูรพาของหลวงปู่โทนนี้ แต่ละคำ ล้วนแล้วแต่เป็นคติสอนใจที่อ่านแล้วเข้าใจกันได้ง่าย ทำให้ผู้ไปกราบหลวงปู่ต้องเปลี่ยนอิริยาบถให้ดูเหมาะสมในเวลาไปสนทนากับท่าน
    เพราะท่านคืออริยสงฆ์ที่เป็นเนื้อนาบุญของพุทธศาสนิกชนชาวอีสานโดยแท้ และแม้แต่ประชาชนที่อยู่ห่างไกลก็ยังเดินทางไปกราบท่านมิได้ขาด

    มีให้แต่เพียงธรรมะ
    หลวงปู่ท่านมักจะกล่าวเสมอว่า มาหาอาตมาก็ไม่มีอะไรให้นะ มาเอาธรรมะไปพิจารณาก็แล้วกัน ให้ปฏิบัติบูชาดีกว่าอามิสบูชา เพราะพระพุทธเจ้าท่านทรงให้ปฏิบัติด้วยพระธรรมของท่านที่ท่านได้ฟันฝ่ามากว่าจะได้ค้นพบ ท่านต้องเอาบารมีทั้ง ๑๐ มาสู้กับมารที่เข้ามาผจญในรูปแบบต่างๆ มาแล้วคือ
    ทาน การให้ทรัพย์แก่คนไร้ทรัพย์
    ศีล คือการรักษาความสุจริตในไตรทวาร
    เนกขัมมะ คือการละจากกาม สละทรัพย์สมบัติ และความสุขทุกอย่างในทางคฤหัสถ์ออกบรรพชา
    ปัญญา คือความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ เช่น รู้ดีรู้ชั่ว รู้บุญรู้บาป
    วิริยะ คือความเพียรบากบั่นในทางที่เป็นคุณประโยชน์
    ขันติ คือความอดกลั้นทนต่อความโกรธ ไม่กระทำตอบหรือแก้แค้น
    สัจจะ คือความสัตย์ ซื่อตรง และจริงใจ
    อธิษฐาน ได้แก่ความตั้งใจมั่น
    เมตตา หมายถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเอ็นดูต่อคนหรือสัตว์ที่น่าสงสาร
    อุเบกขา คือความวางเฉยตั้งตัวเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายต่อความสุขหรือลาภของคนอื่น


    lp-tone-hist-18.jpg
    หลวงปู่โทนท่านกล่าวอย่างอารมณ์ดีและเป็นกันเองกับญาติโยมทุกคน ซึ่งในบางครั้งท่านก็หัวเราะชอบใจ เมื่อมีผู้ถามถูกใจท่าน เช่น
    “หลวงปู่ให้หวยบ้างหรือเปล่า”
    หลวงปู่โทนท่านจะหัวเราะและพูดตอบไปทันทีว่า
    “ไม่เอา อาตมาไม่เอาด้วย ไม่รู้จักเลย”
    หลวงปู้ท่านพูดทำเอาคนที่เอ่ยถามท่านพลอยไม่กล้าถามท่านถึงเรื่องนี้อีกต่อไป

    นำคนเข้าวัดด้วยธรรมะ
    ในวันเข้าพรรษาของทุกปีที่วัดบูรพา ชาวบ้านสะพือต่างก็พากันเข้าวัดเพื่อฟังธรรมจากหลวงปู่โทน ซึ่งบางคนก็ได้ถืออุโบสถศีล ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ด้วยการนอนค้างที่วัดและปฏิบัติธรรมเจริญภาวนากับหลวงปู่
    โดยเฉพาะชาวบ้านที่มีอายุมากจะพากันหันหน้าเข้าวัดกันเกือบหมด เพราะหลวงปู่โทนท่านมีอุบายในการแสดงธรรม ซึ่งเมื่อผู้ใดได้รับฟังแล้วต่างก็ซาบซึ้งและเข้าใจเป็นอย่างดี


    lp-tone-hist-14.jpg
    หลวงปู่โทนท่านเทศนาว่า
    “การรักษาศีลไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ และศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ผู้รักษาย่อมจะได้อานิสงส์ของการรักษาศีลนั้นๆ ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็ทรงตรัสเทศนาสรรเสริญ ดังมีในพระบาลีที่พระองค์ตรัสเทศนาแก่พระอานนท์เถรเจ้าว่า
    “ดูกร อานนท์ ศีลทั้งหลายนี้เป็นธรรมอันมิได้มีโทษ เป็นธรรมอันนักปราชญ์ไม่พึงติเตียนได้ เป็นประโยชน์ และมิได้เดือดร้อนกินแหนงเป็นอานิสงส์”
    หลวงปู่โทนท่านได้เทศนากล่าวอ้างถึงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าถึงอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้ที่รักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์จะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือ

    ๑. ผู้มีศีลรักษาศีลบริบูรณ์บุคคลผู้นั้นย่อมจะได้กองสมบัติเป็นอันมากบังเกิดขึ้นแก่ตน เพราะตนมิได้ประมาท
    ๒. ผู้มีศีลรักษาศีลให้บริบูรณ์ กิตติศัพท์กิตติคุณอันสุนทรียภาพไพบูลย์ก็ย่อมจะฟุ้งเฟื่องไปในทิศานุทิศทั้งปวง
    ๓. ผู้มีศีลและยังศีลให้บริบูรณ์นั้น จะไปสู่ชุมชนใดก็ย่อมองอาจแกล้วกล้าด้วยเหตุปราศจากโทษ
    ๔. ผู้มีศีลและบริสุทธิ์ด้วยศีลนั้น ย่อมประกอบไปด้วยความเลื่อมใสมิได้หลงลืมสติ
    ๕. ผู้มีศีลและบริบูรณ์ด้วยศีลนั้น ครั้นตายไปก็จะได้ไปบังเกิดในมนุษย์สุคติและสวรรค์เทวโลกแล”

    ชี้โทษของการละเมิดศีล
    หลวงปู่โทนเมื่อท่านได้ยกเอาเรื่องอานิสงส์ของการรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ท่านจะยกเอาโทษของการละเมิดในศีลทั้ง ๕ ข้อเอาไว้ด้วยคือ
    ๑. ผู้ผลาญชีวิตสัตว์จนเคยชินเป็นอาจิณ เมื่อจากโลกนี้ไปแล้วก็จะไปตดนรก เกิดเป็นเปรต หรือสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อสิ้นกรรมไปแล้ว ถ้าได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์จะต้องโทษอย่างเบาที่สุดคือทำให้อายุสั้น
    ๒. ผู้ลักทรัพย์จนเคยชินเป็นอาจิณ เมื่อได้ละสังขารจากโลกนี้ไปแล้ว ก็จะไปตกนรกเป็นเปรต หรือสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อสิ้นผลกรรมไปแล้ว ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีก จะได้รับโทษอย่างเบา คือฉิบหายทรัพย์ และเป็นคนล้มละลายจนสิ้นเนื้อประดาตัว
    ๓. ผู้นอกใจคู่ครองคือเล่นชู้กันเป็นอาจิณ เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปตกนรกเป็นเปรต หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าได้กลับมาเกิดมาเป็นมนุษย์อีก ก็จะต้องโทษอย่างเบาที่สุด คือถูกจองเวร
    ๔. ผู้ผิดศีลข้อที่ ๔ คือมุสา (พูดเท็จ) นั้นถ้าได้จากโลกนี้ไปแล้ว ก็จะไปตกนรกเป็นเปรต หรือเป็นสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อสิ้นกรรมไปแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ จะต้องโทษอย่างเบาที่สุด คือเป็นคนถูกกล่าวตู่ด้วยความเท็จ
    ๕. ผู้ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปตกนรกเป็นเปรต เมื่อหมดกรรมที่เสวยแล้ว ก็จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเพื่อใช้กรรมในเมืองมนุษย์ คือจะเป็นคนบ้าๆ บอๆ เสียสติ เป็นต้น

    ฉะนั้นจึงควรรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์เอาไว้จะได้ขึ้นสวรรค์ดังพ่อค้าวาณิชในเรือสำเภาล่มที่แก่งสะพือดังกล่าว
    หลวงปู่โทน ท่านจะเน้นให้ญาติโยมรักษาศีลให้ได้เพื่อประโยชน์ภายหน้า และปัจจุบัน ซึ่งถ้าใครมีศีลมีสัตย์ บุคคลผู้นั้นจะเป็นผู้ที่มีคนเคารพนับถือ ซึ่งก็เป็นอานิสงส์อย่างหนึ่งของมนุษย์เรา ดีกว่าไม่มีอะไรเลย ดังที่ท่านกล่าวว่า
    “ชั่วไม่เอา เมาไม่มี นี่คือคน”

    เพื่อพ่อแม่เลยไม่อยากสึก


    lp-tone-hist-15.jpg
    หลวงปู่โทนท่านเล่าว่า ในสมัยเมื่อท่านอายุได้ ๕๕ ปี มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านมีกิเลสมาพัวพันจนนึกอยากจะสึกออกไปสู่โลกภายนอก แต่พอนึกถึงพระคุณของพ่อและแม่แล้วก็ต้องหยุดคิด

    “พระคุณของพ่อและแม่นั้นใหญ่หลวงยิ่งนัก ท่านใฝ่ฝันที่อยากให้ลูกได้บวชเรียนเขียนอ่านเพื่อจะได้เป็นการทดแทนบุญคุณของท่านด้วย และอีกอย่างคือเพื่อให้พ่อแม่ได้จับชายจีวรไปสวรรค์จะได้ไม่ไปตกนรก
    เพราะความเชื่อถือของชาวพุทธะนั้น ถ้าหากบุตรของตนได้บวชในพระพุทธศาสนาก็จะพลอยให้พ่อแม่ได้บุญด้วย คือไม่ตกนรกอเวจี หรือนรกขุมไหนทั้งนั้น”
    หลวงปู่โทนกล่าวว่า เมื่อศึกษาเล่าเรียนกับสำเร็จลุนแล้วท่านจะไม่ให้สึก เพราะถ้าสึกท่านก็ไม่ให้เรียน ท่านกล่าวว่า
    “บวชเอาพ่อแม่เถอะ ไม่มีอานิสงส์อะไรที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการได้บวชให้พ่อแม่ของตน และเมื่อบวชแล้วก็ให้ตั้งใจศึกษาหาความรู้อย่าปล่อยให้เวลามันเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะเวลาซื้อกลับคืนมาไม่ได้ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง

    ผู้ที่เกียจคร้านในการทำงานนั้นจะกล่าวโทษ ๖ อย่าง คือ
    ๑. มักอ้างว่าหนาวนักแล้วไม่ทำงาน
    ๒. มักอ้างว่าร้อนนักแล้วไม่ทำงาน
    ๓. มักอ้างว่าเวลาเย็นแล้วไม่ทำการงาน
    ๔. มักอ้างว่ายังเช้าอยู่แล้วไม่ทำการงาน
    ๕. มักอ้างว่าหิวนักแล้วไม่ทำการงาน
    ๖. มักอ้างว่ายังอิ่มอยู่แล้วไม่ทำการงาน

    สำเร็จลุนท่านสอนอย่างนี้ จึงต้องปรับปรุงตัวเองจนเอาชนะใจตัวเองได้ในที่สุด เพราะท่านว่า ใครที่หวังในความเจริญ ไม่ว่าด้วยโภคทรัพย์หรือยศถาบรรดาศักดิ์ จงพึงเว้นในข้อเสียดังกล่าวนี้”

    อยู่ป่าอยู่บ้านก็ยังปฏิบัติ
    หลังจากออกธุดงค์ไปพบครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่น สำเร็จลุน สำเร็จตัน หลวงปู่แพง อาจารย์ตู๋ หลวงปู่มั่น มาแล้ว หลวงปู่โทนท่านก็ออกจากป่าตามคำนิมนต์ของชาวบ้านสะพือ
    ถึงแม้ท่านจะออกจากป่ามาอยู่วัดบ้าน หลวงปู่โทนก็ยังนำเอาข้อปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ได้อบรมพร่ำสอน มาปฏิบัติด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด ท่านกล่าวว่า
    “อยู่ที่ไหนไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่จิตใจดวงเดียวเท่านั้น เพราะใจเป็นใหญ่ ใจเป็นที่ตั้ง และสำเร็จก้อยู่ที่ใจเท่านั้น ดังพุทธภาษิตที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสเอาไว้ว่า
    สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นผู้นำ มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วที่ใจก่อน ถ้าคนมีใจชั่วแล้ว พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ความทุกข์ย่อมติดตามคนนั้นไป เหมือนล้อเกวียนหมุนไปตามรอยเท้าโคฉันนั้น”

    พิจารณาทุกอิริยาบถ
    หลวงปู่โทนท่านได้นำเอาวิชาความรู้ที่ท่านได้ร่ำเรียนมา นำมาประกอบการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน ท่านมีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา
    การยืนของท่าน คือยืนพิจารณาก่อนออกเดินจงกรม ท่านยืนพิจารณาดูว่า เส้นทางที่จะเดินจงกรมนั้น มีอะไรอยู่ข้างหน้า มีหนาม มีใบไม้หรือมีสัตว์เล็กสัตว์น้อย เช่น มด ปลวก พากันเรียงแถวเดินกันอยู่หรือไม่ ถ้ามี ท่านก็จะหยุดยืนดูจนมดปลวกเหล่านั้นเดินผ่านพ้นทางไปก่อน เพราะชีวิตของมันก็เหมือนชีวิตของสัตว์ทั่วๆ ไป

    “ดูอย่างมดแดงนั่นซิ ถ้าเราเอามือ หรือเอาไม้ไปแหย่รังของมัน มันก็จะพากันรุมทันที เพราะสัญชาตญาณการป้องกันภัยของมัน
    หรือแม้แต่ตัวปลวกเล็กๆ มันยังมีความสามารถสร้างรังของมันให้ใหญ่ได้ ฉะนั้นอย่าได้ประมาท หรือไปรังแกมัน จงมีเมตตาต่อกัน” หลวงปู่โทนท่านกล่าว
    การเดินจงกรมของหลวงปู่โทนนั้น ท่านเดินไปสิบก้าว เดินกลับไปกลับมาก็เป็นยี่สิบก้าว แต่ละก้าวท่านใช้สติพิจารณา และภาวนาคำว่า “พุทโธ” ด้วยการสูดลมหายใจเข้า-ออกจนเกิดอาการสงบทางจิต
    สำหรับการนั่งภาวนาของหลวงปู่โทนนั้น ท่านจะนั่งภาวนาจนดึกดื่นไม่ยอมลุกไปจากที่นั่งถ้าหากไม่ง่วง หรือถ้าง่วงจริงๆ ท่านก็จะจำวัดให้น้อยที่สุด เพราะท่านถือคติที่ว่า
    “ใครอยากรวยจงลุก ใครอยากทุกข์จงนอน” หลวงปู่ท่านกล่าว

    อภินิหารไม้เท้าสำเร็จลุน
    ตั้งแต่เจ้าของร้านค้าทองย่งเฮง ที่จังหวัดอุบลฯ ได้นำเอาไม้เท้าของสำเร็จลุนที่หลวงปู่โทน ท่านมีเมตตาให้นำไปบูชาไว้ เพราะได้ขอท่านไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งเขาได้นำเรื่องราวไปเปิดเผยให้หลวงปู่โทนฟังว่า
    “มีอยู่ครั้งหนึ่ง โจรมันจะเข้ามาขโมยของที่ร้าน แต่มันก็เข้าไม่ได้ เพราะมันเห็นเสืออยู่ที่หน้าร้านทั้งๆ ที่ไม่ใช่ป่า แต่ก็มีเสือมาปรากฏให้เห็น ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันจนหนาหู”
    ไม้เท้าของสำเร็จลุนเป็นที่หวงแหนของบรรดาลูกศิษย์ท่านมาก ถึงกับต้องแบ่งกันนำไปบูชาซึ่งความจริงแล้ว ก่อนที่สำเร็จลุนท่านจะมรณภาพท่านได้กล่าวว่า
    “เมื่ออาตมาไปแล้ว ขอให้เก็บไม้เท้าเอาไว้ให้ดี”
    หลวงปู่โทนท่านกล่าวว่า ท่านสำเร็จลุน ท่านได้พูดฝากไม้เท้าต่อหน้าบรรดาศิษย์ที่เป็นพระภิกษุและสามเณรหลายรูป แต่ท่านก็ไม่ได้หวงแหนอะไร เพราะบรรดาญาติโยมถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงขอยืมจากหลวงปู่โทนนำไปบูชา เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวของตนต่อไป ท่านจึงได้ให้ไปจนป่านนี้ก็ยังไม่ได้นำมาให้ท่านเก็บไว้แต่อย่างใด

    แปลกแต่จริง
    เรื่องความแปลกแต่เป็นเรื่องจริงนี้ คือเรื่องหมู่บ้านสะพือกับแก่งสะพือที่ได้กล่าวเอาไว้ในบทก่อนว่า มีชื่อที่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาแต่โบราณกาล
    ส่วนในด้านที่แปลกคือแก่งสะพือนั้น ความจริงอยู่ห่างจากหมู่บ้านสะพือไปประมาณ ๖ กม. เท่านั้น แต่แก่งสะพือต้องไปขึ้นกับอำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งอยู่ไกลมาก
    ตรงกันข้ามกับหมู่บ้านสะพือซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน แต่ขึ้นกับอำเภอตระการพืชผล ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ ๑๒ กม. จึงทำให้มีผู้เข้าใจไขว้เขวว่า แก่งสะพือน่าจะขึ้นกับอำเภอตระการพืชผลด้วยกันกับหมู่บ้านสะพือ เพราะอยู่ใกล้กันแค่นั้นเอง
    “เมื่อทางการกำหนดเอาอย่างนั้น ก็ถือกันมาอย่างนั้น” หลวงปู่ท่านกล่าว

    เมื่อเข้าวัดก็ต้องสงบ
    หลวงปู่โทนท่านใช้เวลาว่างด้วยการให้พระเณรปัดกวาดลานวัดและเขียนคติธรรมเพื่อติดเอาไว้ตามต้นไม้ต่างๆ เพื่อเป็นข้อเตือนใจแก่ทุกคนที่ได้ไปเยือนวัดบูรพาของท่าน
    บริเวณวัดบูรพาของหลวงปู่โทนจึงมองดูสะอาดหูสะอาดตาและร่มรื่นที่สุด เมื่อใครได้เข้าไปในบริเวณวัดของท่าน จะทำให้จิตใจพลอยสงบไปด้วย และได้รับความร่มเย็นทั้งกาย คือภายนอกและใจ คือภายในอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

    มาเตือนทางนิมิต
    หลวงปู่โทนท่านเล่าว่าในคืนวันหนึ่งขณะนั่งภาวนา เมื่อจิตดื่มก่ำเป็นสมาธินิมิตต่างๆ ก็ได้ปรากฏขึ้น ท่านพยายามควบคุมจิต ติดตามเข้าไปดูอย่างใกล้ชิด จึงได้เห็นประจักษ์ชัดว่าเป็นภาพของท่านสำเร็จลุน พระอาจารย์ของท่านเอง
    หลวงปู่โทนกล่าวต่อไปว่า ท่านสำเร็จลุนได้มาบอกให้หมั่นเจริญวิปัสนาอย่าให้ละเป็นอันขาด
    ท่านอาจารย์สำเร็จลุนได้เอาของมาให้ แต่ไม่ทราบเป็นสิ่งของอะไร เพราะไม่ได้สังเกตอย่างละเอียด และท่านได้พูดกำชับเอาไว้เพียงว่า ขอให้รักษาตัวให้ดี หมั่นภาวนารักษาศีลอย่าให้บกพร่อง
    อาตมาก็ได้รับปากกับท่านว่าจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จากนั้นภาพในนิมิตก็หายไป อาตมาก็ได้นำมาพิจารณาทบทวนดูในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนเกิดความสว่างไสวภายในใจอย่างบอกไม่ถูก
    หลวงปู่โทนท่านกล่าวอย่างช้าๆ แต่ละเอียดทุกอย่างจนผู้ฟังนั่งสงบอย่างจดจ่อในขณะที่ท่านพูด
    ...มีมาคู่กับวัด


    lp-tone-hist-11.jpg
    ที่วัดบูรพาของหลวงปู่โทนนั้นได้มีญาติโยมไปกราบนมัสการพร้อมกับจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่บนผนังโบสถ์ซึ่งมีอยู่เพียงองค์เดียวเท่านั้น


    เมื่อสอบถามดูจึงได้รู้ความจริงว่า พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาคู่กับวัด เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพบูชาอย่างมาก

    หลวงปู่โทนท่านกล่าวว่าพระพุทธรูปเก่าองค์นี้เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านก็ได้พบแล้วแสดงว่าพระพุทธรูปดังกล่าวคงมีมานานเป็นร้อยๆ ปี
    “ทุกวันพระ จะมีประชาชนพากันมานั่งสมาธิที่หน้าพระพุทธรูปกันเป็นประจำ บางคนก็มาขอเสี่ยงทายด้วยการตั้งจิตอธิษฐานขอให้สำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา บางคนก็ขอโชคลาภ บางคนก็ขอบุตร ซึ่งก็ได้ผลมาแล้วเช่นกัน” ลุงคนหนึ่งไม่ยอมเปิดเผยชื่อกล่าว
    ผู้เขียนได้ไปกราบท่านตามคำแนะนำของคุณลุงท่านนั้น และได้นั่งสมาธิต่อหน้าท่านสักพักหนึ่งจึงกราบลาไปหาข้อมูลต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2021
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    (ต่อ)
    อย่าอยู่อย่างประมาท

    lp-tone-hist-12.jpg
    หลวงปู่โทน ท่านเคยอาพาธหนักอยู่คราวหนึ่ง จนทำให้บรรดาศิษยานุศิษย์ของท่านต่างเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อจะรับงานท่านถ้าท่านมรณภาพ แต่ท่านก็กลับหายดีเป็นปกติในเวลาต่อมา
    บางคนถึงกับชวนกันสร้างเจดีย์ไว้เพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิของท่านขึ้นแห่งหนึ่งอย่างสวยงามยิ่ง แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านได้หายจากอาพาธพอดี จึงเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์จริงๆ
    หลวงปู่โทนกล่าวว่า ดีแล้วที่สร้างเอาไว้จะได้ไม่ต้องลำบากในภายหลัง เพราะสังขารเป็นของไม่แน่นอน มีเกิดก็ต้องมีดับเป็นของธรรมดา แม้แต่พระพุทธเจ้า พระองค์ท่านก็ยังให้ละในสังขารทั้งปวงโดยท่านตรัสว่า
    -สงฺขารา อนิจฺจา สังขารเป็นของไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืน จงอย่าได้ประมาท จงเร่งสร้างความดีกันเอาไว้
    -นิพฺพานาภิรโต มจฺโจ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ผู้ยินดีในพระนิพพาน จึงจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    ให้เชื่อในสิ่งควรเชื่อ
    หลวงปู่โทนท่านกล่าวแก่ญาติโยมที่ไปกราบท่านคนหนึ่งซึ่งไปขอโชคลาภในทางเสี่ยงว่า
    เรื่องเกี่ยวกับโชคลาภหรือโชคชะตานั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรไปยึดถือจนเกินไป จะถือว่ามีโชคชะตาเป็นของตัว แล้วจะงอมืองอเท้าโดยมิได้ทำสิ่งใด แล้วรอให้ผลดีเกิดขึ้นเองด้วยอำนาจโชคชะตานั้นหาได้ไม่
    โชคชะตาเป็นเพียงสิ่งสนับสนุนการกระทำของตน มิใช่เป็นหลักที่ควรยึดมั่นเอาเป็นสรณะ เพราะโชคชะตาเป็นเพียงเครื่องประกอบเท่านั้น ดังคำที่ท้าวสักกะสอนเป็นคติแก่ดาบสว่า
    “ความพยายามบากบั่นของมนุษย์ มีอำนาจเหนือโชคชะตา และเทพยดาฟ้าดินทั้งมวลได้”
    อนึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ๓ อย่างคือ
    ๑. ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
    ๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
    ๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่การปฏิบัติ

    ก่อนจาก...ฝากข้อคิด


    lp-tone-hist-13.jpg
    ก่อนที่จะออกจากป่าที่ภูโล้น อำเภอโขงเจียมนั้น หลวงปู่โทนได้เข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่น ซึ่งท่านไปปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยกัน หลวงปู่มั่นได้กล่าวเป็นข้อคิดให้หลวงปู่โทนฟังว่า
    “ไปอยู่บ้าน (วัดบ้าน) อย่าลืมป่าเน้อ”
    คำพูดสั้นๆ ของหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น หลวงปู่โทนท่านได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะบ้านกับป่านั้นมันต่างกัน
    คือป่าเป็นที่อยู่ของผู้ชอบสมถะ เป็นที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ส่วนบ้านนั้นคือที่ชุมชน ย่อมมีความวุ่นวายไม่รู้จบ
    ดังนั้นท่านจึงต้องพยายามสงบระงับในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะการมาอยู่รวมกันในคนหมู่มาก ย่อมเกิดปัญหาตามมาไม่มากก็น้อย ท่านจึงต้องอาศัยการที่ได้อยู่ป่ามาก่อนเป็นเครื่องควบคุม
    “อาจารย์มั่นท่านเป็นคนมีใจหนักแน่น มีอุบายธรรมที่แยบคาย ใครได้รับฟังท่านเทศน์จะเกิดความศรัทธาปสาทะอย่างยิ่ง ท่านเกิดก่อนอาตมา ๒๗ ปี คือท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ส่วนอาตมาเกิด พ.ศ. ๒๔๔๐
    สมัยที่อาตมาไปอยู่ภูโล้น (ภูหล่น) ได้พบกับท่านนั้น ท่านก็เป็นพระผู้ใหญ่แล้ว อาตมายังเป็นพระหนุ่มอยู่ ท่านมีความคล่องแคล่วว่องไว เป็นตัวอย่างที่ดีของลูกศิษย์ลูกหาที่ได้ปฏิบัติตามท่าน” หลวงปู่กล่าว

    ธรรมโอวาทจากใจท่าน
    หลวงปู่โทนท่านเทศนาสั่งสอนญาติโยมอยู่เสมอในวันพระขึ้น ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ และยิ่งในวันเข้าพรรษา ท่านจะเทศนาวั่งสอนและอบรมกรรมฐานให้บรรดาพระลูกวัดและญาติโยมได้ปฏิบัติเป็นประจำ
    หลวงปู่โทนกล่าวว่า คนเราเมื่อเกิดมาแล้วก็จงแสวงหาปัญญา เพราะปัญญาเป็นเครื่องส่องแสงสว่างให้เราได้มองเห็น บาป บุญ คุณ โทษ
    แต่การใช้ปัญญาในทางที่ผิดก็เป็นบาป หรือใช้ปัญญาเล่ห์กลก็ไม่ดีเช่นกัน
    “อันวิชาความรู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาอะไร ถ้ารู้ดีจริงๆ แล้ว ย่อมมีคุณประโยชน์สามารถนำความสุขความสำเร็จมาให้แก่เจ้าของคือตัวเราได้
    วิชาแต่ละอย่างย่อมมีค่าสูงอยู่ในตัวของมันเอง เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของสังคมมนุษย์ ซึ่งธรรมดาชีวิตมนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับหลายด้าน เช่น ด้านการศึกษา ด้านร่างกาย ด้านศีลธรรม ด้านจิตใจ ด้านการหาเลี้ยงชีพ
    ในแต่ล้านล้วนมีความจำเป็นสำหรับชีวิตเท่าๆ กัน เพราะบุคคลแต่ละคนย่อมมีความชำนาญในด้านที่ตนถนัด
    วิชาจะมีคุณค่าและอำนวยประโยชน์ให้แก่เจ้าของเต็มที่ก็ต่อเมื่อเจ้าของรู้ดีจริงๆ ในวิชานั้นๆ แต่มิใช่เอาวิชาความรู้ไปใช้ในทางที่ผิดๆ”

    ที่พึ่งที่แท้คือพุทธะ
    หลวงปู่โทนท่านได้เปิดเผยถึงชีวิตของท่านว่า
    “ในชีวิตของอาตมานี้ขอมอบไว้กับพระพุทธศาสนาตลอดชั่วชีวิต เพราะการได้ปฏิบัติในทางธรรมแล้วทำให้จิตใจสงบไม่เหมือนกับในครั้งที่เป็นฆราวาส
    เพราะเกิดมาก็มองเห็นสภาพของความทุกข์ ที่กล่าวนี้มิใช่ว่ากลัวความลำบากนะ แต่ความทุกข์ในที่นี้คือทุกข์ใจที่ไม่มีความสงบ มันฟุ้งซ่านไปหมด ไม่เหมือนกับการได้บวชเรียนเขียนอ่านอยู่ในเพศบรรพชิต มีความร่มเย็นทั้งกายทั้งใจ
    ใครก็ตาม ถ้ามีโอกาสก็ควรได้ปฏิบัติธรรมกันบ้าง เพราะจะทำให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ซึ่งบางคนประสบกับปัญหาชีวิตอย่างหนัก แก้ไขไม่ได้ก็ทำลายตัวเอง ซึ่งไม่ถูกต้องนัก
    คนเราทุกคนจะต้องมีความหนักแน่นในใจอย่าเป็นทาสของอารมณ์ อย่าให้อารมณ์เป็นใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด แล้วจะชนะทุกสิ่งทุกอย่าง
    ที่สำคัญคือพยายามทำใจให้ได้ รู้จักปล่อยวางได้บ้าง อย่าไปยึดอะไรมากนัก ยิ่งยึดถือมากยิ่งหนักมากเท่านั้น”

    ขอเพียงใจบริสุทธิ์
    หลวงปู่โทนท่านเป็นพระผู้ยึดสมถะไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ใครไปหา ท่านก็จะไต่ถามสารทุกข์สุขดิบด้วยความเมตตา
    บางคนมาไกลเพียงต้องการพบพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่นหลวงปู่ แล้วก็อยู่พูดคุยกับท่านเป็นวัน และบางคนก็อยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านไปด้วย โดยมากจะมาจากในที่ไกลๆ เช่น กรุงเทพฯ นครราชสีมา สิงห์บุรี ชัยนาท ก็มีผู้ไปกราบท่านที่วัดเป็นประจำ
    “ใครจะไปจะมาจากที่ไหนไม่สำคัญ เพียงแต่ให้มาดีไปดีมีศีลธรรมนำติดตัวไปด้วยก็พอแล้ว ไม่ต้องเอาอะไรมาให้หรอก ให้เอาใจมาปฏิบัติให้มากที่สุด เพราะกุศลจะเกิดก็เกิดจากศรัทธาอันบริสุทธิ์เท่านั้น” หลวงปู่ท่านกล่าว

    ขอพึ่งบารมี


    lp-tone-hist-32.jpg
    หลังจากหลวงปู่คำคะนิง แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำคูหาสวรรค์ได้มรณภาพลงไปแล้ว พระอาจารย์ทองสา (ฐานทินโน คำแฝง) ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดได้เดินทางมาขอพึ่งบารมีหลวงปู่โทนที่วัดบูรพา เพราะไม่มีพระอาจารย์องค์ไหนเหมาะสมเช่นท่าน
    “ครูบาอาจารย์ที่บางคนอาจมองข้ามไปเพราะท่านไม่แสดงตัวมากนัก ผู้คนจึงไม่รู้จักท่าน แต่อาตมารู้มาก่อนแล้ว เพราะหลวงปู้คำคะนิงท่านเคยพูดถึงอยู่เสมอว่า
    ในท้องถิ่นย่านนี้ต้องยกให้ท่านโทน (หลวงปู่โทน) เขา เพราะเขาบวชมานาน รู้จักครูบาอาจารย์มามาก ท่านมีอะไรดีๆ อยู่เยอะ”
    พระอาจารย์ทองสาจึงได้เดินทางมาพบกับหลวงปู่โทนเพื่อแสดงตัวขอเป็นศิษย์กับท่าน เพราะได้รับคำกับหลวงปู่คำคะนิงไว้แล้ว ก่อนที่ท่านจะมรณภาพไม่กี่เดือน
    “ที่วัดของหลวงปู่คำคะนิงก็กำลังพัฒนาเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของหลวงปู่ท่าน แต่ท่านมาด่วนมรณภาพไปก่อน จึงต้องมาขอคำแนะนำจากหลวงปู่โทน เพื่อท่านจะได้ชี้แนะแนวทางให้ ซึ่งท่านก็มีเมตตาอนุเคราะห์ให้ความช่วยเหลือบางสิ่งบางอย่าง เพราะท่านเองก็กำลังก่อสร้างพระอุโบสถอยู่เช่นกัน” พระอาจารย์ทองสากล่าวถึงความมีเมตตาของหลวงปู่โทน

    พัฒนาที่จิตสำคัญกว่า
    หลวงปู่โทนกล่าวว่า เมื่ออกจากป่าแล้วก็ต้องมาพัฒนาวัดให้มีความเจริญหูเจริญตาแก่ผู้พบเห็น เพราะวัดบ้านมีผู้ไปมาอยู่เสมอมิได้ขาด ส่วนวัดป่าไม่มีใครไปรบกวน


    lp-tone-hist-09.jpg
    ฉะนั้น เมื่อมาอยู่วัดบ้านก็ต้องพัฒนาไปให้ทัดเทียมเขา อย่าให้เขาว่าได้ว่าอยู่ไปวันๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเลย
    ความจริงแล้วหลวงปู่ท่านไม่ได้สร้างอะไรให้ใหญ่โตแต่อย่างใด เช่น ในการก่อสร้างพระอุโบสถของท่าน ก็จัดสร้างขึ้นอย่างย่อมๆ ไม่หรูหราใหญ่โตอะไรมากนัก
    สร้างเสนาสนะเพียงเพื่อให้มีที่ประกอบศาสนกิจทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น มิได้สร้างให้ใหญ่โตเพื่อแข่งขัน และไม่ทำให้ใครเดือดร้อนไปด้วย ใครมีศรัทธาแค่ไหนก็ทำไปแค่นั้นไม่หยุดนิ่ง คือทำไปเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบ เสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น
    “ขอให้พัฒนาจิตใจให้ดีเสียก่อนจึงจะให้พัฒนาทางวัตถุ เพราะเมื่อจิตใจเจริญแล้ว ย่อมจะรู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ
    ถ้าวัตถุเจริญก่อน จะทำให้เกิดกิเลส มีความคิดผิดแปลกออกไป เช่นจะต้องเอาอย่างนั้นอย่างนี้เหมือนเขา อย่างนี้มันไม่ดี ไม่ควรยึด” หลวงปู่ท่านกล่าวอย่างอารมณ์ดี

    สืบต่ออย่างเคร่งครัด
    จากการเปิดเผยของหลวงปู่โทน ท่านเล่าว่า ญาติโยมชาวบ้านสะพือแห่งนี้ มีความเชื่อถือและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
    “ชาวบ้านสะพือยังยึดถือประเพณีของชาวอีสานอย่างเหนียวแน่น เมื่อก่อนเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น
    เพราะเขาได้ปลูกฝังกันมาตั้งแต่บรรพชน คือ ให้นับถือพุทธศาสนาอันประเสริฐนี้เป็นหลัก
    ประเพณีต่างๆ ยังอยู่ครบในหมู่บ้านสะพือแห่งนี้ เช่นงานบุญสลากภัต งานบุญบั้งไฟ งานบุญเข้าพรรษา และออกพรรษา มีญาติโยมเข้าวัดกันเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เด็กเล็กจนกระทั่งถึงผู้ใหญ่” หลวงปู่โทนกล่าว
    ผู้เขียนสัมผัสกับชาวบ้านสะพือ ก็เป็นจริงอย่างนั้น เพราะไม่ว่าคนต่างถิ่นจะไปหาใครในหมู่บ้านนั้น เขาจะให้การต้อนรับด้วยการไต่ถามอย่างเป็นกันเอง ให้ความสะดวกทุกอย่างไม่เห็นแก่ตัว และที่สำคัญ ชาวบ้านสะพือ ให้ความเป็นมิตร มีความนอบน้อม ไม่แสดงกิริยาวาจาที่ส่อไปในทางอคติแต่อย่างใด จึงน่าสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะมัคนายกวัดให้ความกระจ่างในประวัติความเป็นมาของวัดเป็นอย่างดี

    ถ้ามาดีทางสะดวก
    ผู้เขียนมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทางไปกราบครูบาอาจารย์สายอีสานซึ่งมีอยู่หลายรูป ที่ยังไม่ได้นำเอาอัตชีวประวัติของท่านมาเผยแพร่ ทั้งนี้เพราะมีอยู่ทั่วทุกแห่ง อย่างเช่น หลวงปู่โทน ผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะไปกราบท่านตั้งแต่ครั้งเดินทางไปกราบ หลวงปู่คำคะนิง ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่มาก่อนแล้ว แต่ยังหาโอกาสไม่ได้สักที
    ในที่สุดความตั้งใจก็ประสบความสำเร็จ เพราะบารมีของหลวงปู่ที่ดลบันดาลให้แท้ๆ จึงได้ไปกราบท่าน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์จริงๆ ที่จู่ๆ ก็คิดที่จะไปกราบท่านทั้งๆ ที่ยังไม่มีโปรแกรมที่จะไปทางนั้น
    ความอัศจรรย์ที่เกิดอภินิหารขึ้นระหว่างการเดินทางคือ ได้รับความสะดวกสบายไปตลอดทาง โดยไม่คาดหมายมาก่อน เช่น ได้พบแต่ผู้คนที่ดีให้คำแนะนำในเส้นทางที่จะไป และบางคนถึงกับนำรถไปส่งถึงที่ ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็รับอาสามาให้ความสะดวก นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกอย่างยิ่ง
    “ใครไปหาหลวงปู่ก็ได้รับความสะดวกถ้าหากไปดี แต่ก็เคยมีผู้มารบกวนหลวงปู่ในเรื่องอื่นๆ เช่นกัน ท่านรู้ท่านจะไม่ออกมาพบเลย ทำเอาคนที่จะไปเบียดเบียนท่านผิดหวังไปตามๆ กัน” ลูกศิษย์คนหนึ่งที่คอยอุปัฏฐากท่านกล่าว

    พรหลวงปู่โทน


    lp-tone-hist-19.jpg
    ก่อนจาก หลวงปู่โทน ท่านได้อวยพรให้ว่า “เกิดเป็นคน อย่าจนซึ่งน้ำใจ”
    คำกล่าวของหลวงปู่เป็นคำอวยพรสั้นๆ ของท่าน ซึ่งผู้ฟังถ้าหากมองอย่างผืวเผินก็คิดว่าไม่มีอะไร เพียงเป็นคติของท่านเท่านั้น แต่ถ้าหากนำมาคิดพิจารณาให้ละเอียดแล้วจะเห็นว่า คำให้พรของหลวงปู่โทนมีความหมายอย่างลึกซึ้งมาก เพราะคนเราถ้าหากแล้งซึ่งน้ำใจแล้วใครเขาจะคบค้าสมาคมด้วย เมื่อไม่มีใครคบ โภคทรัพย์ต่างๆ ก็ไม่บังเกิดขึ้นแน่ เนื่องจากไม่มีน้ำใจให้ใคร เขาก็จะไม่มีน้ำใจตอบเช่นกัน
    “เมื่อมีน้ำใจ แม้ไม่มีทรัพย์ ก็ประเสริฐยิ่งกว่ามีทรัพย์ เช่นการช่วยเหลือผู้ที่ควรช่วยเหลือ ก็จะได้รับสิ่งตอบแทน คือการแสดงความขอบคุณ แสดงความเป็นมิตรเกิดขึ้น


    lp-tone-hist-03.jpg
    แต่ถ้าแล้งน้ำใจ ก็จะไม่มีอะไรเป็นสิ่งตอบแทน นอกจากจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว มองไปทางไหนก็ไม่มีใครสนใจ
    ฉะนั้นพรที่ว่านี้ จึงเป็นพรที่อมตะยิ่ง ให้ไปพิจารณาเอาเองก็จะรู้เองว่าอะไรเป็นอะไร เพราะการอยู่ร่วมโลกเดียวกันนี้ต้องมีน้ำใจต่อกัน จึงจะอยู่กันได้อย่างสันติ” หลวงปู่กล่าว

    เส้นทางมุ่งสู่วัด
    ท่านผู้อ่านที่ตัองการเดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่โทน กนฺตสีโล พระอาจารย์ผู้เป็นศิษย์เอกของสำเร็จลุนที่ยังหลงเหลืออยู่นี้ ขอให้ท่านตั้งต้นกันที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
    จากอำเภอตระการพืชผลใปหมู่บ้านสะพือ มีระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามถนนสายตระการพืชผล-ศรีเมืองใหม่-โขงเจียมในทางทิศตะวันออก เลี้ยวขวาที่หมู่บ้านกุศกร ที่อยู่ห่างจากอำเภอตระการพืชผลเพียง ๕ กิโลเมตร

    lp-tone-hist-04.jpg
    และจากหมู่บ้านกุศกรไปอีกประมาณ ๗ กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านสะพือ และที่ตั้งของวัดบูรพาซึ่งเป็นวีดที่หลวงปู่โทนท่านจำพรรษาอยู่
    ณ ที่แห่งนี้ร่มรื่นด้วยรสพระธรรมของพระสุปฏิปันโนผู้เป็นเนื้อนาบุญแผ่ไพศาล ควรที่ทุกท่านได้ไปกราบท่าน เพราะท่านคือศิษย์ของสำเร็จลุนโดยแท้ และเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ชื่อดังอีกหลายท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นครูบาอาจารย์สายปฏิบัติธรรมทั้งนั้น
    เมื่อไป ถ้ำคูหาสวรรค์ แล้ว ก็ควรแวะ วัดบูรพาด้วย เพราะหลวงปู่โทน คือผู้ที่เป็นตัวแทน หลวงปู่คำคะนิง องค์ต่อไป

    bar-white-lotus-small.jpg
    :- http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-tone-wat-burapa/lp-tone-hist-01.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2021
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    บุญปล่อยเต่า..ตายแล้วฟื้น!

    thamnu onprasert
    Oct 23, 2021
    อานิสงส์ผลบุญปล่อยเต่า ช่วยให้ตายแล้วฟื้น ได้กลับมาบวชสร้างความดีจนตลอดชีวิต


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2021
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    พระอริยเจ้ากล่าวถึงหลวงตามหาบัว// ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    Aug 9, 2021
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านคือพระอรหันต์ที่พระอริยสงฆ์ต่างๆล้วนกล่าวยกย่องชมเชยในคุณธรรมของท่าน ซึ่งพระอริยสงฆ์เหล่านี้ ได้แก่..

    1.หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    2.หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    3.หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
    4.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    5.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    6.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    ในสายหลวงปู่มั่น พระที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณ มีใครบ้าง?//ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    Sep 25, 2020
    หลวงปู่จาม และหลวงพ่อฤาษีลืงดำเคยปรารภกับลูกศิษย์ลูกหาของท่านถึงเรื่องพระที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณว่ามีอยู่ในประเทศไทยหลายรูป แต่ก็มีน้อย เพราะพระระดับนี้เป็นระดับสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา และมีประสิทธิภาพมากในการเผยแพร่สัจธรรมคำสอน ในสายของหลวงปู่มั่นเองซึ่งเป็นสายกรรมฐานที่ยิ่งใหญ่ ก็ยังมีพระประเภทปฏิสัมภิทาญาณนี้น้อย ที่พอจะเอ่ยชื่อได้ก็มี

    1. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
    2. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    3. หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    4. หลวงพ่อชา สุภัทโท
    ทุกรูปที่เอ่ยนามมานี้ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพศรัทธาและยอมรับจากพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ และครูบาอาจารย์เหล่านี้ก็มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย..
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป ภาวนาเพ่งกระดูก จนหลวงปู่มั่นมาบอกเตือนในนิมิต// ปู่ดอน station

    ปู่ดอน station
    Sep 29, 2021
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระอริยสงฆ์แห่งวัดป่าประทีปปุญญาราม จังหวัดสกลนคร ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น เป็นพระที่มากไปด้วยนิมิตทางสมาธิ นั่งสมาธิแต่ละครั้งจะมีนิมิตเกิดขึ้นมากมาย แต่ท่านก็ยึดหลักในการภาวนาเพ่งพิจารณสกระดูกเป็นประจำ มีครั้งหนึ่งที่ท่านภาวนาเพ่งกระดูกแล้ว หลวงปู่มั่นได้มาปรากฏในนิมิตบอกเตือนว่า “..ท่านผ่าน จิตอยู่ในขั้นสกิทาคามี ยังอยู่ในกามะอยู่นะ”

     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    lpPanpanyapateepo.jpg
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม ต.เซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    คัดลอกเนื้อหามาจาก : www.watparpateepbhunyaram.org/poopan.php

    อัตโนประวัติ

    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป มีนามเดิมว่า ผ่าน หัตถสาร เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ ณ บ้านเซือม ตำบลโพนแพง อำเภอวานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น บ้านเซือม ตำบลเซือม อำเภออากาศอำนวย) จังหวัดสกลนคร ตอนที่โยมมารดาได้ตั้งท้องหลวงปู่นั้น โยมมารดาได้ฝันว่าได้มีคนเอามีดด้ามงามาให้ แล้วโยมมารดาก็ได้เอาไปซ่อนเพราะกลัวว่าจะมีคนมาเห็น ครั้นเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ปรากฏว่าท่านเป็นเด็กที่เลี้ยงยากมากและร้องไห้เก่ง โยมมารดาจึงได้พาหลวงปู่ไปให้พระท่านผูกสายสิญจน์ที่ข้อมือให้ จึงได้เลี้ยงง่ายขึ้น ด้วยความที่หลวงปู่เป็นบุตรคนหัวปี ญาติพี่น้องเห็นก็พากันรักใคร่ ผลัดกันเอาไปเลี้ยง ผลัดกันเอาไปอุ้ม หลวงปู่ท่านจึงมีแม่หลายคน เพราะมีคนเอาไปเลี้ยงหลายคน
    โยมบิดาชื่อ ด่าง หัตถสาร โยมมารดาขื่อ จันทร์เพ็ง หัตถสาร ต่อมาภายหลังโยมมารดาของท่านได้บวชเป็นแม่ชีจนกระทั่งได้ถึงแก่กรรม ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๓ คน มีชื่อเรียงลำดับดังนี้
    (๑) หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    (๒) นายบาน หัตถสาร
    (๓) นายบัว หัตถสาร
    (๔) นายบาง หัตถสาร
    (๕) นายคำใบ หัตถสาร
    (๖) นายบุญไทย หัตถสาร
    (๗) นางไสว หัตถสาร
    (๘) นายสีใคร หัตถสาร
    (๙) นางไสแก้ว หัตถสาร
    (๑๐) นางสม หัตถสาร
    (๑๑) นายคำกรม หัตถสาร
    (๑๒) นายอุดม หัตถสาร
    (๑๓) นายนิยม หัตถสาร

    เมื่อหลวงปู่โตขึ้นก็ได้ช่วยโยมบิดา-มารดาทำไร่ทำนาทำมาหากินตามปกติ หลวงปู่นั้นมีนิสัยเป็นคนเฉยๆ ไม่เป่าปี่ สีซอ เป่าแคนอย่างคนอื่น ไม่เคยเต้นรำวง ไม่กินเหล้าเมาสุรา หลวงปู่ท่านได้เข้าโรงเรียนเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ แต่เรียนยังไม่ทันจบ พอดีโยมพ่อเฒ่าสุขตาย ตามประเพณีทางอีสานลูกหลานนิยมบวชให้เพื่อจูงศพเข้าป่าช้า หลวงปู่จึงได้บวชเป็นสามเณรให้โยมพ่อเฒ่าสุข บวชอยู่ประมาณ ๑ เดือนจึงได้ลาสิกขา
    การบรรพชาและอุปสมบท
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๑๕ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่ง ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสัทโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์



    lp-pharn-52.jpg
    หลวงปู่ผ่านถ่ายเมื่อครั้งพรรษายังไม่มากนัก

    จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๒ ญาติพี่น้องได้เดินทางมาจากบ้านหนองศาลา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร หลวงปู่จึงได้ติดตามญาติพี่น้องไปอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านเชียงเครือ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านหนองศาลา ครั้นต่อมาหลวงปู่ได้เล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรม โดยมีพระภิกษุอน ซึ่งเป็นญาติของท่านเป็นผู้สอน จากนั้นจึงได้ไปสอบที่วัดธาตุศาสดาราม (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร) ปรากฎว่าสอบผ่านนักธรรมชั้นตรี แล้วกลับไปอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยตามเดิม หลวงปู่ได้อยู่ที่วัดโพธิ์ชัยอยู่หลายเดือน และก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดศรีบุญชู บ้านเซือม
    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เพื่อนที่บวชด้วยกันชวนท่านสึก ท่านได้ปฏิเสธ แต่เพื่อนบอกให้สึกด้วยกัน ท่านจึงจำใจสึกออกมาช่วยงานโยมบิดา-มารดาอยู่ถึง ๒ ปี
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พ่อใหญ่ป้อง เศรษฐาไชย เป็นพ่อเลี้ยงของหลวงปู่ได้ตายลง ญาติพี่น้องจะทำบุญอุทิศให้ตามประเพณี เมื่อทำบุญอุทิศให้ผู้ตายมักนิยมเรียกกันว่า “กองอัฎฐะ” หรือ “กองบุญ” ถ้าหากมีคนบวชในงานนี้ด้วยจะเรียกว่า “กองบวช” เนื่องจากทางลูกชายของพ่อใหญ่ป้องไม่สามารถบวชให้พ่อได้ ญาติพี่น้องจึงมาขอให้หลวงปู่ให้บวชพระในครั้งนี้ พอดีวันนั้นจิตใจของหลวงปู่รู้สึกหงุดหงิดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อญาติพี่น้องมาขออย่างนั้น จิตใจปิติยินดีในทันทีเพราะท่านอยากบวชอยู่นานแล้ว ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดทุ่ง จังหวัดสกลนคร แห่งเดิม โดยมีพระครูวิรุฬห์นวกิจ (ผาง ฐิตสัทโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมาก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เฉโก” หลังบวชแล้วได้ไปอยู่ที่วัดศรีบุญชู บ้านเชือม เมื่อบวชได้ ๒-๓ วัน ตอนกลางคืนปรากฏว่าพ่อใหญ่ป้อง เศรษฐาไชย เดินมาหา ถามว่ามีเทียนใช้แล้วหรือยัง หลวงปู่จึงตอบว่ามีใช้แล้ว พ่อใหญ่ป้องจึงเดินออกไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2023
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    53,486
    กระทู้เรื่องเด่น:
    170
    ค่าพลัง:
    +33,086
    (cont.)
    เมื่อบวชแล้วได้เรียนนักธรรมโท โดยอ่านหนังสือเอง เมื่อไปสอบก็สอบได้ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เรียนนักธรรมเอก โดยอ่านหนังสือไปสอบเอง แต่คราวนี้สอบตกจึงไม่ได้ไปสอบอีก

    ในปีนี้วันหนึ่งพระเณรทั้งวัดได้เข้าไปในป่าหาไม้มาสร้างกุฏิ ถึงเวลาเพลชาวบ้านก็ยังไม่ได้เอาอาหารมาถวาย จนบ่ายเขาจึงได้เอามาถวาย พระเณรก็ฉันกันทุกรูปยกเว้นหลวงปู่กับเจ้าอาวาส แม้จะเหนื่อยและหิวก็ไม่ฉัน หลวงปู่ได้เห็นความประพฤติอันย่อหย่อนจากพระวินัยของพระเณร แล้วรู้สึกเบื่อมาก ซึ่งการขุดดิน ตัดไม้ ดายหญ้า รับเงินรับทองเป็นเรื่องปกติที่พระเณรทำกัน แต่หลวงปู่ไม่ทำเพราะท่านตั้งใจรักษาพระวินัยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจึงตั้งจิตอธิฐานว่า “จะบวชเป็นพระกรรมฐานเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต”
    ๏ ญัตติเป็นธรรมยุต
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงปู่ได้มากราบนมัสการ พระครูบริบาลสังฆกิจ (หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม) ที่วัดอุดมรัตนาราม บ้านอากาศ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านเชือมเพียงแค่ ๒-๓ กิโลเมตร หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่จึงได้กราบเรียนกับท่านว่า “อยากจะบวชเป็นพระกรรมฐาน” ท่านจึงแนะนำให้สึกก่อนแล้วค่อยบวชใหม่ เมื่อกลับมาถึงวัดศรีบุญชูได้เข้าไปกราบลาพระอุปัฌชาย์ขอลาสิกขา ท่านก็อนุญาต อาจกล่าวได้ว่าท่านบวชได้ ๕ พรรษาแล้วสึกก็ได้ ส่วนพระภิกษุอีกรูปหนึ่งก็เข้าไปกราบลาพร้อมกัน พระอุปัชฌาย์ท่านคัดค้าน เพราะยังพรรษาน้อยเพียง ๒ พรรษา หลวงปู่จึงได้ลาสิกขารูปเดียว
    หลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยเริ่มจากการไปหัดขานนาคอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ที่วัดอุดมรัตนาราม หัดขานนาคอยู่ด้วยกันหลายคน หลวงปู่ท่านหัดอยู่ได้ประมาณ ๓ เดือน จึงถูกต้องตามอักขรฐานกรณ์ของภาษาบาลีทุกอย่าง เมื่อหลวงปู่ขานนาคได้แล้ว ซึ่งเป็นช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้เดินทางโดยรถยนต์ไปกับหมู่นาคที่จะบวชพร้อมกัน โดยจะไปบวชกับ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) วัดโพธิ์สมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี


    lp-pharn-04.jpg
    แต่ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ได้ไปร่วมงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ส่วนพระอุปัชฌาย์องค์อื่นๆ ก็ไปกันหมด หมู่นาคที่จะบวชจึงพากันเดินทางไป วัดจอมศรี บ้านนำฆ้อง ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเมื่อไปถึงวันนั้นก็ได้บวชเลย โดยบวชเป็นพระ ๓ รูป และบวชเป็นเณร ๕ รูป ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ โดยมี พระครูพิทักษ์คณานุการ (หลวงปู่สี ธัมมทินโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระสมุห์ภา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สำเร็จเมื่อเวลา ๑๓.๕๒ น. ท่านได้รับนามฉายาว่า “ปัญญาปทีโป” แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจแสงสว่างแห่งดวงประทีป (ดวงไฟ) จากนั้นท่านก็ได้กลับมาอยู่กับหลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ที่วัดอุดมรัตนาราม จนกระทั่งเข้าพรรษา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...